วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ

วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ

วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ

วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม ของทุกปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงสถาปนากิจการลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงได้ยึดถือวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งได้จัดให้มีการเดินสวนสนามของลูกเสือ ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี ในแต่ละปีจะมีลูกเสือทั้งในส่วนกลางและปริมณฑลมาร่วมเดินสวนสนาม ประมาณ 10,000 คน เพื่อแสดงความเคารพและกล่าวทบทวนคำปฏิญาณ ต่อองค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อประกาศความเป็นลูกเสืออย่างแท้จริง
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ
ลูกเสือได้กำเนิดครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450โดยท่านลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ กิจการลูกเสือในยุคแรกมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหาร หลายประเทศที่ไม่มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร จึงได้จัดให้มีลูกเสืออย่างประเทศอังกฤษบ้าง หลังจากนั้นไม่นานกิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ. 2451 ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ ได้แต่งหนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง มีชื่อว่า Scouting For Boys และคำว่า “Scout” จึงใช้เป็นคำเรียกผู้ที่เป็นลูกเสือซึ่งมีความหมายมาจาก
S ย่อมาจาก Sincerity แปลว่า ความจริงใจ
C ย่อมาจาก Courtesy แปลว่า ความสุภาพอ่อนโยน
O ย่อมาจาก Obedience แปลว่า การเชื่อฟัง
U ย่อมาจาก Unity แปลว่า ความเป็นใจเดียวกัน
T ย่อมาจาก Thrifty แปลว่า ความประหยัด
และในปีนี้เอง ได้มีการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นกองแรกในประเทศอังกฤษ ซึ่งกิจการลูกเสือได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนต่อมาในปี พ.ศ. 2452 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 1 ทรงรับอุปภัมภก เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญและประโยชน์ของลูกเสือ จึงได้ก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นประเทศที่ 2
การจัดตั้งลูกตัวในประเทศไทย
ต่อมาใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองเสือป่าขึ้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนได้เข้ารับการอบรม โดยมีจุดประสงค์ที่จะมุ่งอบรมจิตใจให้คนไทยรู้จักรักชาติมีมนุษยธรรม มีความเสียสละ สามัคคี และมีความกตัญญู
เมื่อกิจการของเสือป่าเจริญก้าวหน้ามั่นคงดีแล้วพระองค์ จึงทรงพระราชดำริว่า ควรจะได้มีการอบรมของเสือป่าด้วย ดังนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งลูกเสือขึ้นในประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา จากนั้นนานาชาติในยุโรปจึงจัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้น ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากลและมีความสัมพันธ์กันทั่วโลก เป็นสื่อผูกมิตรไมตรีกันโดยใช้กฎของลูกเสือ 10 ประการ ผูกสัมพันธ์กันไม่เว้นเชื้อชาติใด ศาสนาใดทั้งสิ้น ถือว่าลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ
ลูกเสือกองแรกของไทย
ลูกเสือกองแรกของไทยตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเรียก “ลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1″ ต่อมาขยายตัวออกไปจัดตั้งที่โรงเรียนหรือสถานที่ใดสุดแต่สภากรรมการคณะลูก เสือแห่งงชาติจะเห็นสมควร เด็กที่จะเป็นลูกเสือจะต้องทำพิธีเข้าประจำกอง กล่าวคำปฏิญาณตนตามคำมั่นสัญญานั้น พระองค์ผู้ทรงให้กำเนิดลูกเสือได้พระราชทานคำขวัญไว้ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ในสมัยนั้นกิจการลูกเสือไทยเลื่องลือไปยังนานาชาติว่า “พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงใฝ่พระทัยในกิจการลูกเสือเป็นอย่างยิ่ง” ถึงกับกองลูกเสือที่ 8 ของประเทศอังกฤษ ได้มีหนังสือขอพระราชทานนามนามลูกเสือกองนี้ว่า “กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม” พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ตามความประสงค์ ลูกเสือกองนี้ติดเครื่องหมายช้างเผือกที่แขนเสื้อทั้งสองข้างและยังปรากฏ อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟื้นฟูอีก โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นครั้งแรกในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ เมื่อ พ.ศ. 2470 จากนั้นได้จัดให้มีการอบรมลูกเสืออีกหลายรุ่นกระทั่งถึงปี พ.ศ.2475 เป็นปีสุดท้ายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว กิจการลูกเสือได้รับการปรับปรุงใหม่ด้วย สมัยนั้นได้ช่วยบำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าราชการ ทหาร ในการปราบจราจล รัฐบาลจึงจัดตั้งหน่วยยุวชนทหารฝึกวิชาทหารขึ้นโดยรับเด็กที่ได้เป็นลูกเสือ มาแล้ว ส่วนกิจการลูกเสือก็ขยายให้กว้างขวางขึ้น มีการจัดตั้งกองลูกเสือเหล่าเสนาและลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาขึ้นโดยฝึกร่วมกับ ยุวชนทหารการลูกเสือจึงซบเซาลงบ้างในยุคนี้
ปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้ฟื้นฟูกิจการลูกเสืออีกครั้ง มีการจัดชุมนุมของลูกเสือแห่งชาติ ส่งเจ้าหน้าที่ในกองการลูกเสือไปเข้ารับการฝึกอบรมวิชาลูกเสือตามมาตรฐาน สากล และตามแบบนานาประเทศตามลำดับ มีพระราชบัญญัติลูกเสือใช้บังคับโดยคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้บริหาร วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือได้รับการปรับปรุงและเน้นให้เห็นชัดเจนรัดกุม ยิ่งขึ้น มีความว่า “คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ”
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ
การกำหนดวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสวรรคตแล้วก็ ตาม พระราชอนุสรณ์กิจการลูกเสือของพระองค์ท่านได้พัฒนารุ่งเรืองมาตามลำดับจน เป็นกิจการที่สร้างคุณประโยชน์สร้างชื่อเสียงของประเทศให้ขจรขจายเป็นที่ รู้จักของนานาประเทศทั่วโลก และเพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่าน ทางราชการจึงได้กำหนดวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ” หรือ “วันลูกเสือ”
[แก้ไข] กิจกรรมในวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
  1. ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านผู้ให้กำเนิดลูกเสือแห่งประเทศไทย
  2. จัดนิทรรศการ เผยแผ่ ประวัติความเป็นมาของลูกเสือและผลงานต่างๆ
  3. ร่วมกิจกรรมต่างๆในวันลูกเสือ เช่น การนำพวงมาลาไปถวายบังคมที่พระบรมรูปฯ สถานพระบรมราชานุสรณ์ หรือที่ที่ทางราชการกำหนด
  4. เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ประวัติ วันสถาปนาลูกเสือ

สู้ๆ

เตรียมตัวเพื่อเรียน “นิติศาสตร์” กับครูพี่ทาม์ย
           สำหรับน้องๆ ที่สนใจคณะนิติศาสตร์ นั้น การเตรียมตัวก็ไม่ต่างจากคณะอื่นๆ มากนักครับ นั่นคือเรามีอยู่3 ก็อก นั่นคือ ก๊อกแรก คือ “การสอบตรง” ทั้งนี้เพราะในแต่ละมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะที่ธรรมศาสตร์ รับมากถึง 60% ของจำนวนรับทั้งหมด เป็นต้น ก๊อกสอง คือ “แอดมิชชั่น” อันนี้รอนานหน่อย แต่หลายๆ มหาวิทยาลัยก็จะเปิดรับเฉพาะการแอดมิชชั่นเพียงอย่างเดียว เช่นจุฬาฯ ในบางปีก็ไม่เปิดรับตรงเลย ส่วนก๊อกสามนั้น ปลายทางแล้วถ้ายังไม่ได้ในมหาวิทยาลัยรัฐ ไม่เป็นไรเป้าหมายในการเป็นนักกฎหมายยังคุกรุ่นอยู่ ก็สามารถเลือกในเส้นทางนี้ นั่นคือ 1.มหาวิทยาลัยเปิด เช่นรามคำแหง (ซึ่งมีชื่อเสียงมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศในด้านนิติศาสตร์) ก็จะมีทางเลือกซึ่งน่าสนใจ 2 ทางคือ การเรียนที่อื่นๆ ไปด้วย แล้วเรียนที่รามไปด้วย (อันนี้เด็ก มธ. มักจะทำกัน ถ้าขยันก็จบ ไม่ขยันก็ไม่จบ เรียนรามก็ไม่ได้ว่าง่ายนะครับ) หรือจะอีกทางคือเรียนรามอย่างเดียวเลย 2.มหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งในปัจจุบันแทบทุกที่จะมีเปิดสอนนิติศาสตร์ และยังมีหลักสูตรนานาชาติที่ ABAC อีกด้วย
 
           ทีนี้พี่ทาม์ยจะขอเล่าเฉพาะใน 2 ก๊อกแรกก่อนละกันครับ เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่ดีให้กับน้องๆ ที่อยากเรียนในมหาวิทยาลัยปิด ดังนี้ครับ
 
1. การรับตรง
 
1.1 การรับตรงของธรรมศาสตร์ => รับค่อนข้างเยอะ คือรับ 300 คนจากจำนวนรับทั้งหมดต่อปี 500 คน นั่นคือรับตรงเป็นสัดส่วนสูงมากถึง 60% ทั้งนี้ในวิชาที่รับตรงนั้น ประกอบด้วย
(รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.2btopic.com/TU/law.html )
 
1.1.1) วิชาความรู้ทางกฎหมายและทักษะในการใช้กฎหมาย มีสัดส่วนสูงมากถึง 40%
     ซึ่งในวิชานนี้ถือได้ว่าเป็นวิชาที่มีสัดส่วนสูงมากที่สุด เป็นหัวใจของการรับตรงก็ว่าได้ เพราะเป็นทักษะที่ค่อนข้างตรงสาย ทั้งนี้แนวข้อสอบที่ออกจะออกเป็น Multiple Choice ในเนื้อหาตามชื่อวิชา ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเนื้อหาการสอบย่อมออกสูงกว่าที่เรียนๆ กันในวิชาสังคมศึกษาในโรงเรียนอย่างแน่นอน เพราะมันจะมีความละเอียดมากกว่า ซับซ้อนมากกว่า หรือเนื้อหามันสูงกว่าระดับ ม.ปลายทั่วไปนั่นเอง ... แต่ทว่าหากน้องคิดที่จะเริ่มเตรียมตัวแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะเรียนเก่งหรือไม่เก่ง จะเรียนไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอย่างที่บอก วิชานี้ออกสูงเกินหลักสูตร ดังนั้นที่เรียนๆ มากันทั้งหลายนั้น แทบจะเป็นศูนย์ ก็ต้องมาเริ่มนับหนึ่งกันใหม่นั่นเอง ดังนั้นน้องที่เตรียมตัวก่อน ย่อมได้เปรียบ เพราะตัวบทกฎหมายมันเป็นทักษะเชิงตรรกะ คือ Input ยังไง Output อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง (ตามระบบกฎหมายไทย) พูดง่ายๆ คือเรียนซ้ำไปซ้ำมาเรื่อยๆ ก็จะเกิดความชำนาญมากขึ้นนั่นเอง (ดังนั้นน้องส่วนใหญ่จึงมักเรียนซ้ำหลายรอบ เนื่องจากเป็นเนื้อหาใหม่ที่ไม่เคยเจอ และสูงเกินหลักสูตรนั่นเอง แต่ทั้งนี้การจะเรียนซ้ำหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล ที่ต้องประเมินตนเองครับ)
 
1.1.2) ภาษาอังกฤษ มีสัดส่วน 10%
     วิชานี้ดูเหมือนจะง่าย แต่เอาเข้าจริงต้องเตรียมตัวให้ตรงจุดนะครับ เพราะน้องส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ว่าจะกี่รุ่นต่อกี่รุ่นเนี่ย ก็มักจะเข้าใจว่า อ่อ สอบภาษาอังกฤษ ก็เรียนหรือเตรียมตัวภาษาอังกฤษตัวเดียว ใช้เหมือนกันได้หมด แต่ทว่าเอาเข้าจริงมัน "ไม่ใช่" เพราะข้อสอบแต่ละยุด มีจุดประสงค์ในการชี้วัดต่างกัน ดังนั้นจะออกข้อสอบเหมือนกันไม่ได้อยู่แล้ว ตามหลักการ (ซึ่งไม่ใช่แค่วิชาภาษาอังกฤษด้วยนะ วิชาอื่นๆ ก็เช่นกันเช่น คณิตศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้นก่อนจะสอบที่ไหน อย่างไรควรศึกษาให้ดีก่อน ใช่ว่าจะถูลู่ถูกังเตรียม ไม่ลืมหูลืมตานะครับ) เพราะว่าการเตรียมสอบ GAT หรือ ONET หรือสอบตรงกลาง ข้อสอบก็จะไม่เหมือนกัน ดังนั้นภาษาอังกฤษของนิติศาสตร์ มธ.ก็เช่นเดียวกัน ย่อมต้องออกเฉพาะตัว (ทั้งนี้เพราะคณะเป็นผู้ออกข้อสอบและจัดสอบเอง) ซึ่งต้องเตรียมให้ดี และทริกง่ายๆ ที่พี่ทาม์ยจะแนะนำคือ ลองคิดง่ายๆ ว่า ภาษาอังกฤษสอบตรง มธ. ออกโดย มธ. เพราะงั้นมันก็น้องๆ TU-GET น่ะแหละครับ แค่ตัดบางส่วนออก (เพราะฉะนั้นมันไม่เหมือน GAT หรือ ONET แน่นอน) คือยังไง ก็คือมักจะออกเกี่ยวกะบทความ เพราะเค้าอยากรู้ว่า จริงๆ แล้วเนี่ย น้องๆมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษเป็นอย่างไรบ้างนั่นเอง
 
1.1.3) GAT มีสัดส่วน 30%
    ต้องเป็นรอบสอบในเดือน ตุลาคม เท่านั้น และจากสัดส่วนแล้วอย่าลืมนะครับว่ามัน "สูง" จริงๆ ดังนั้นต้องเตรียมให้ดี ทั้งนี้เพราะเตรียมครั้งนี้ก็ยังสามารถเอาไปใช้ยื่นได้ในแอดมิชชั่นอีกด้วย ซึ่งจะกล่าวต่อไป
    และแน่นอนว่า หากอยากสอบติดก็ต้องทำคะแนนส่วนนี้ให้ได้คะแนนสูงๆ ไว้ก่อน และแน่นอนควรทำให้ได้เกิน 250 คะแนน จาก 300 คะแนนครั (ไม่ได้ขู่นะ แต่เป็นแบบนี้จริง โดยควรทำในส่วนวิเคราะห์ให้เต็ม 150 ก่อนเพื่อเป็นฐาน แล้วทำภาษาอังกฤษเพิ่มอีก 100 คะแนน)
 
1.1.4) วิชาเรียงความ/ย่อความ มีสัดส่วน 20%
     วิชานี้ไม่ยากและไม่ง่าย ถ้าน้องเป็นคนที่มีทักษะในการจัดลำดับความคิดที่ดี เพราะในส่วนของวิชาเรียงความนั้นจะแสดงให้เห็นถึงทัศนคติโดยรวมๆ ของน้องๆ ถือได้ว่าเป็นคำถามจิตวิทยาพอสมควร แต่ทว่าคำถามจะถามไม่ยากมาก เช่น นักกฎหมายที่ดีควรเป็นอย่างไร เป็นต้น คำถามเรียงความของนิติศาสตร์จะไม่ซับซ้อนและไม่ยากเท่ากับรัฐศาสตร์ ดังนั้นตรงนี้ต้องดูความคิดของตัวเองก่อนว่าตรงกับ Nature ของพวกนิติศาสตร์และธรรมศาสตร์รึเปล่านั่นเอง อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากของเด็กไทย คือเขียนเรียงความไม่เป็น เขียนวกไปวนมา อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง ตรงนี้ต้องปรับปรุงและเตรียมตัวให้ดี
     ส่วนการย่อความ ก็ต้องมีทักษะในการจับใจความสำคัญที่ดี (ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญที่จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานในข้อสอบ GAT วิเคราะห์และภาษาอังกฤษ รวมไปจนถึงการทำหน้าที่นักกฎหมายที่ดีต่อไปในอนาคต) เพราะบางปีออกบทความมากว่า 10 หน้า ให้ย่อเหลือเพียงหน้าเดียวเป็นต้น
 
(ส่วนในคอร์สเตรียมสอบของ TOPIC คือ LAW + ILT + GAT NETWORK + GAT ENG หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.2btopic.com/TU/law.html )
 
      ทั้งนี้น้องอย่าลืมนะครับว่า ทุกวิชาที่ใช้สอบตรงของธรรมศาสตร์นั้นมีความสำคัญที่จะ "ทิ้ง" ไม่ได้แม้แต่วิชาเดียว ทั้งนี้เพราะธธรรมศาสตร์มีระบบการตรวจที่ค่อนข้างแปลก คือจะตอบเป็นขั้นๆ ซึ่งตามในประกาศอย่างเป็นทางการคือ จะคัดผู้ที่ทำคะแนนสอบใน 3 ข้อแรกข้างต้นนั้นสูงสุดจำนวน 1,200 คนแรก เพื่อนำมาตรวจข้อสอบเรียงความและย่อความ แต่ทว่าจริงๆ แล้ว คณะจะเริ่มคัดกรองเป็นส่วนๆ ซึ่งเชื่อกันว่าจะเริ่มตัดกันตั้งแต่วิชา GAT ก่อนว่ามีคะแนนผ่านเกณฑ์หรือไม่ ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ตรวจส่วนอื่นต่อ ถ้าผ่านก็ดูวิชาต่อไปคือวิชากฎหมาย (ซึ่งก็จะพิจารณาเฉพาะวิชากฎหมาย ไม่เอา GAT มารวมแล้ว) จากนั้นถ้าผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ไปต่อ เหมือนบ้านเอเอฟเลย 55 จากนั้นก็มาดูต่อที่ภาษาอังกฤษว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ จากนั้นท้ายที่สุด ก็จะเอาน้องขั้นสุดท้ายจำนวน 1,200 คนมาตรวจเรียงความและย่อความ ซึ่งในขั้นนี้ก็จะพิจารณาเฉพาะการเรียงความและย่อความอย่างเดียวเลย (มีน้องหลายคนประมาท ไม่สนใจเรียงความ/ย่อความ เพราะคิดว่าน่าจะทำส่วนอื่นได้ดีแล้ว และคงจะเกลี่ยๆ กันก็น่าจะติด แต่จริงๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น บางคนเก่งมาก แต่เรียงความไม่ดีก็ตก ก็มีมาแล้ว และมีอยู่ทุกปี) จากนั้นก็มักจะประกาศผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ประมาณ 500 คน แล้วก็สัมภาษณ์ โดยในการสัมภาษณ์ก็เช่นกัน พิจารณาตัดคนว่าติดหรือไม่ติดจากเฉพาะ "คะแนนสัมภาษณ์" เท่านั้น ไม่เอาที่สอบๆ มา มารวมในการพิจารณาตัดสินเลย (ซึ่งจะไม่เหมือนระบบของ จุฬาฯ ที่เรียงคะแนนจากสูงสุดลงต่ำสุดเลย)
      ดังนั้นการเตรียมตัวในทุกขั้นตอนนั้น ห้าม "หลุด" เป็นเด็ดขาด ต้องเตรียมให้ดีทุกๆ ขั้นตอนนั่นเอง ซึ่งก็อย่างที่บอก ไม่ยาก และก็ไม่ง่ายครับ อยู่ที่ความมุ่งมั่น พยายามและความตั้งใจล้วนๆ
 
1.2 สำหรับการรับตรงของจุฬาฯ --> แล้วแต่ปีครับ บางปีรับตรง บางปีไม่รับ ต้องรอดูประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ทว่าในช่วงปี 2553 - 2554 ที่ผ่านมา จุฬาฯได้เปิดสอบตรงในคณะนิติศาสตร์ โดยใช้สัดส่วนคือ
1.2.1) คะแนนสอบวิชา GAT 20%
1.2.2) คะแนนสอบวิชา PAT 1 (คณิตศาสตร์) หรือ PAT7 (ภาษาต่างประเทศ) แล้วแต่ว่าน้องจะเลือกวิชาไหนอีก 20%
1.2.3) วิชาพื้นฐาน (จัดสอบโดยจุฬาฯ) ในวิชาภาษาไทย สังคม และภาษาอังกฤษ อีกวิชาละ 20%
 
(รายละเอียดเพิ่มเติม --> http://www.2btopic.com/chula/law.html )
 
1.3 สำหรับการรับตรงของ มช. => มีรับตรงทุกปี คือ 1.โครงการเรียนดี (รับทั่วประเทศ) อันนี้ต้องดูรายละเอียดในแต่ละปีอีกครั้ง 2.โควต้า จากนักเรียนใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ดังนั้นหากเป็นน้องที่อยู่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือก็ใช้สิทธิ์ได้เลย โดยจะสอบในวิชาพื้นฐาน ไทย คณิต วิทย์ อังกฤษ สังคม โดยเป็นข้อสอบของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอง สอบเหมือนกันทุกคณะ แล้วแต่ว่าจะเอาคะแนนไปยื่นคณะอะไร
 
1.4 การรับตรงของมหาวิทยาลัยอื่นๆ => การรับตรงนั้นจะคล้ายกับจุฬาฯ คือมักจะใช้คะแนน GAT + PAT1 หรือ PAT7 หรือวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์, ไทย, สังคม , อังกฤษ ซึ่งต้องติดตามรายละเอียดในแต่ละมหาวิทยาลัย ในแต่ละปีอีกครั้ง ทั้งนี้เพราะในมหาวิทยาลัยอื่นๆ นั้นยังไม่ค่อยมีความแน่นอนในการเปิดรับตรงนั่นเอง
 
2. สุดท้าย การสอบแอดมิชชั่น => แอดมิชชั่น จะใช้คะแนนยื่นดังนี้ คือ GPAX 20%, ONET 30%, GAT 40%, PAT1/PAT7 30% (ซึ่งในปี 2556 8าดว่าจะปรับ GAT เป็น 30% และ PAT1/PAT7 เป็น 20%)
 
ซึ่งจะเป็นได้ว่าวิชาที่น่าจับตามอง และต้องเตรียมตัวให้ดีนั่นคือ GAT นั่นเอง
 
ดังนั้นคอร์สเตรียมตัวของเรา => GAT NETWORK + GAT ENG + PAT1 + ONET ครับ
(รายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
 
"สู้ๆ นะครับ พี่ทาม์ยยังเป็นกำลังใจให้ และ TOPIC ก็ยังมีทุกคำตอบให้น้องอยู่เสมอครับ ด้วยความยินดี ^^"

คณะนิติศาสตร์

คณะนิติศาสตร์







คณะนิติศาสตร์ 


          คณะนิติศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษากฎเกณฑ์ความประพฤติ ของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคมประเภท หนึ่งที่มีผลบังคับแน่นอน ซึ่งเรียกกันว่ากฎหมาย ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรละที่มิได้เป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายจึงเป็นส่วนสำคัญของสังคมที่กำหนดสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบบทบาทของบุคคลในทุกกิจกรรม และทุกระดับ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยขึ้นในสังคมนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้

การศึกษานิติศาสตร์คือ

          1. นิติศาสตร์จะศึกษาทฤษฎี แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับสาระของ กฎหมายในส่วนสิทธิหน้าที่ และความรับผิดของบุคคลต่อกันตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจทุกประเภท รวมตลอดจนหลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐและหน่วยงานรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ในสังคมนานาชาติ

          2. นอกจากนั้น นิติศาสตร์ยังมุ่งศึกษาบทบาทของกฎหมาย ทั้งในฐานะที่ะเป็นกรอบกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของรัฐมิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนในฐานะที่กฎหมายเป็นเครื่องมือ ในการนำนโยบายมาปฎิบัติให้ได้ผลจริงจัง ดังนั้น โดยนัยนี้กฎหมายจึงเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง คือ อาจส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาได้ การศึกษานิติศาสตร์จึงให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ปัญหานี้ด้วย

          3. นิติศาสตร์ยังให้ความสำคัญต่อคุณค่าเชิงคุณธรรมของกฎหมาย ย่อมมีขึ้นเพื่อความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษานิติศาสตร์จึงเน้นที่กระบวนการของกฎหมายว่าต้อง “ บริสุทธิ์ “ เพื่อความมุ่งหมายสุดท้าย คือยุติธรรม การศึกษาจึงมิได้เน้นเฉพาะตัวบทกฎหมายเพียงประการเดียว แต่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กฎหมายในเชิงคุณธรรมด้วย

แนวทางในการประกอบอาชีพ

          ผู้จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ อาจแบ่งแนวทางในการทำงานได้ 2 ประเภท

          1. ผู้ซึ่งใช้วิชากฎหมายในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งผู้ที่มิได้สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ ไม่สามารถประกอบอาชีพเหล่านี้ได้ เลย ได้แก่ ผู้พิพากษา อัยการ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นิติกร ฯลฯ

          2. ผู้ซึ่งใช้ความรู้ทางกฎหมายให้เป็นประโยชน์ แก่การประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ เช่นตำรวจ ปลัดอำเภอ นักธุรกิจพนักงานบริษัท ห้างร้าน ข้าราชการ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางกฎหมายสามารถที่จะเลือกประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางกว่าสาขาอื่น ๆ เพราะนอกจากจะสามารถประกอบอาชีพที่กันไว้เฉพาะสำหรับนักกฎหมายแล้ว ยังสามารถประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นสามารถประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้อีกด้วย

สถาบันอุดมศึกษา ที่เปิดการเรียนการสอนสาขาวิชานิติศาสตร์ ในประเทศไทยได้แก่

          คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
          คณะนติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
          คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
          สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคกลาง
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
          สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
          คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
          คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี
          คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
          คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานีอุดร
          คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
          คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          คณนิติศาสตร์ วิทยาลัยโยนก
          คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยศรีโสภณ
          คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
          คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
          คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
          คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
          คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
          คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
          คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
          คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
          ภาควิชา นิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
          วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
          วิทยาลัย บัณฑิตพิษณุโลก
          วิทยาลัย ศรีอีสาน(คณาสวัสดิ์)
          สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
          คณะนิติศาสตร์ (วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ)
          สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
admissions.is.in.th และ   วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี