วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

พลาสติกชีวภาพ นวัตกรรมเพื่อโลกสีเขียว




แก้วผลิตจากพลาสติกชีวภาพ


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก treehugger.com

          "พลาสติก" มีส่วนสำคัญอย่างมากในชีวิตมนุษย์ทุกวันนี้ แต่ก็ส่งผลกระทบอย่างมากในอนาคตเช่นกัน เพราะ "พลาสติก" เป็นขยะที่กำจัดได้ยาก หากนำไปฝังกลบก็ใช้เวลาย่อยสลายเป็นร้อย ๆ ปี และเปลืองพื้นที่ แต่ถ้านำไปเผาก็ยิ่งจะสร้างปัญหาทางมลพิษเพิ่มมากขึ้นไปอีกนั่นจึงทำให้ทุก ๆ วันในประเทศไทยจะมีขยะพลาสติกสูงถึง 7,391 ตันต่อวัน หรือคิดเป็น 18% ของขยะทั้งหมด และหากคิดเป็นปริมาณของทั้งปี ขยะพลาสติกก็จะอยู่ที่ 2.7 ล้านตันเลยทีเดียว (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2553)

          ด้วยเหตุนี้ จึงมีการรณรงค์ให้คนหันมาใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก เพื่อลดปัญหาขยะ รวมทั้งอีกหนึ่งทางเลือกที่เกิดจากไอเดียดี ๆ ที่จะช่วยพิทักษ์โลก นั่นคือการใช้ "พลาสติกชีวภาพ"นั่นเอง

          สำหรับ "พลาสติกชีวภาพ" (BioPlastic) หรือ "พลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้" (Biodegradable plastic) คือพลาสติกที่ย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ ผลิตมาจากพืชหลาย ๆ ชนิด มาผ่านกระบวนการผลิตต่าง ๆ จนสามารถนำไปขึ้นรูป เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อไปได้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

 1.โพลีแลคติคแอสิด (Polylactic Acid) หรือ "PLA"

          การผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดนี้ จะใช้พืชที่มีแป้งเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง มันสำปะหลัง อ้อย ปอ ฯลฯ เป็นวัตถุดิบ โดยนำมาผ่านกระบวนการบดให้เป็นแป้ง และย่อยให้เป็นน้ำตาล ก่อนจะนำไปหมักกับจุลินทรีย์เพื่อให้กลายเป็นกรดน้ำนม (Lactic Acid) แล้วนำไปผ่านกระบวนการโพลีเมอร์ จะได้สารประกอบโพลีเมอร์จากกรดน้ำนม (PLA) สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกได้เช่นเดียวกับเม็ดพลาสติกจากปิโตรเลียม

          โดยพลาสติกชีวภาพชนิดนี้ มีคุณสมบัติพิเศษ คือมีความใส ไม่ย่อยสลายในสภาพแวดล้อมทั่วไป แต่สามารถย่อยสลายได้เอง เมื่อนำไปฝังกลบในดินในระยะเวลาอันสั้น และยังนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักได้โดยไม่ทำลายธรรมชาติ

2.โพลีไฮดรอกซีอัลคาโนเอท (Polyhydroxyalkanoates) หรือ "PHAs"

          ใช้วัตถุดิบจากแป้งและน้ำตาลเหมือนตัวแรก แต่แตกต่างตรงขั้นตอนการหมัก ที่จะต้องใช้จุลินทรีย์ชนิดพิเศษ ชื่อ "Eschericia Coli" ที่กินน้ำตาลเป็นอาหาร และสามารถเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของน้ำตาลภายในตัวจุลินทรีย์เองเป็น PHAs ได้ คุณสมบัติของ PHAs สามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์พลาสติกได้หลากหลาย เช่น การขึ้นรูปเป็นฟิล์ม การฉีดและเป่า ฯลฯ

          และไม่ว่าจะเป็นพลาสติกชีวภาพประเภทใด ต้องบอกว่าเป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริง ๆ เพราะสามารถย่อยสลายได้ง่ายด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม หลังหมดอายุการใช้งาน ที่สำคัญกระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพ จะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยกว่าการผลิตพลาสติกทั่วไปจากปิโตรเคมี จึงสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าการผลิตพลาสติกทั่วไปถึง 50%

          เห็นประโยชน์มากมายของ "พลาสติกชีวภาพ" อย่างนี้ ทำให้หลาย ๆ ประเทศที่เริ่มตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมหันมาใช้ "พลาสติกชีวภาพ" กันมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ที่พัฒนา "พลาสติกชีวภาพ" เป็นส่วนประกอบในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก อุตสาหกรรมยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ แคปซูลบรรจุยา กระถางต้นไม้ รวมทั้งนำพลาสติกชีวภาพมาใช้ในการดูดซับน้ำใต้ดิน ในงานเตรียมการก่อสร้างขนาดใหญ่อย่างสนามบินและโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย

          หันกลับมาดูที่ประเทศไทยของเราเอง ก็ให้ความสนใจกับ "พลาสติกชีวภาพ" ไม่น้อยหน้าไปกว่าชาติไหน โดยรัฐบาลได้สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมวัสดุชีวภาพ ให้เป็นโครงการระดับชาติ เพราะประเทศเรามีวัตถุดิบและทรัพยากรในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพได้ และยังมีอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับในการพัฒนาพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ ซึ่งปัจจุบันมีหลาย ๆ หน่วยงานทางธุรกิจที่เริ่มหันมาใช้ "ถุงพลาสติกชีวภาพ" แทนถุงพลาสติกแบบเก่ากันบ้างแล้ว

          อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญก็คือ การผลิต "ถุงพลาสติกชีวภาพ" มีต้นทุนสูงกว่าการผลิตถุงพลาสติกธรรมดา 2-3 เท่า และประเทศไทยก็ยังไม่สามารถผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพได้เอง แต่ในอนาคตหากมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น เราจะสามารถผลิตพลาสติกชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อมได้เอง ซึ่งจะทำให้เราได้ "พลาสติกชีวภาพ" ที่มีราคาถูกลงใช้แพร่หลายกันมากขึ้น แถมยิ่งช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นด้วย

          แต่ก่อนจะถึงขั้นนั้น ถ้าจะให้ดีที่สุด เราควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการลดการใช้ถุงพลาสติก และใช้ถุงพลาสติกให้คุ้มค่ามากที่สุดก่อนที่จะนำไปทิ้ง หรือหันมาใช้ถุงผ้า เพื่อลดโลกร้อนตามที่หลายหน่วยงานกำลังรณรงค์กันอยู่ ก็ถือเป็นก้าวแรกที่จะช่วยรักษาโลกสีเขียวได้ ณ ตั้งแต่วันนี้เป็นการดีที่สุดค่ะ 

ปวดศีรษะข้างเดียวมีชนิด/แบบอะไรบ้าง?

ปวดศีรษะข้างเดียวมีชนิด/แบบอะไรบ้าง?

ปวดศีรษะข้างเดียว
อาการปวดศีรษะข้างเดียวที่พบบ่อย คือ ปวดศีรษะไมเกรน (จะไม่กล่าวถึงในบทความนี้ อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่องไมเกรน) ส่วนสาเหตุ/แบบ/ชนิด อื่นๆที่พบได้ไม่บ่อย ได้แก่

ปวดศีรษะข้างเดียวแต่ละชนิดมีอาการอย่างไร?

อาการปวดศีรษะข้างเดียวแต่ละชนิด/แบบนั้น มีลักษณะอาการเด่น ดังนี้

ปวดศีรษะข้างเดียวที่ไม่ใช่ไมเกรน มีลักษณะต่างกันอย่างไร?

เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย สรุปเป็นตาราง ดังนี้
ลักษณะปวดศีรษะคลัสเตอร์ปวดศีรษะ Hemicranial continuaปวดศีรษะ SUNCT และปวดศีรษะ SUNA
เพศที่พบบ่อยผู้ชายมากกว่าผู้หญิงผู้ชายเท่ากับผู้หญิงผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ลักษณะอาการปวดปวดตุ้บๆ ปวดเหมือนมีดแทงปวดตื้อๆ ปวดเหมือนมีดแทง ปวดตุ้บๆปวดเสี้ยว ปวดเหมือนมีดแทง
ความรุนแรงรุนแรงมากรุนแรงมากรุนแรง
ตำแหน่งที่ปวดV1>C2>V2>V3V1>C2>V2>V3V1>C2>V2>V3
ความบ่อยต่อวัน1-8 ครั้ง20 ครั้ง100 ครั้ง
ระยะเวลานาน (นาที)30-1802-301-5
อาเจียน (%)504025
กลัวแสง/กลัวเสียง (%)656525
V1 = หน้าผาก, ตา, V2= แก้ม, V3 = กราม, C2 = ต้นคอด้านหลัง, > = ปวดมากกว่า

แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นปวดศีรษะข้างเดียวได้อย่างไร?

ในการวินิจฉัยว่า เป็นโรค/อาการปวดศีรษะข้างเดียว แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะการปวดที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟัง และการตรวจร่างกายเพิ่มเติม เช่น ตรวจพบความผิดปกติของระบบประ สาทอัตโนมัติหรือไม่ในขณะที่มีอาการปวด ที่สำคัญ คือ ต้องตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆของระบบประสาท

ผู้ป่วยจำเป็นต้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอมอาร์ไอสมองหรือไม่?

แพทย์จะพิจารณาลักษณะผิดปกติที่ตรวจพบร่วมกับอาการที่ผู้ป่วยบอก ถ้าเข้าได้กับลักษณะการปวดศีรษะอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น และตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆ ก็สามารถให้การวินิจฉัยได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งตรวจอะไรเพิ่มเติม

ปวดศีรษะข้างเดียวดังกล่าวเกิดจากอะไร?

อาการปวดศีรษะข้างเดียวทั้ง 3 ชนิด/แบบดังกล่าว เป็นกลุ่มที่ตรวจไม่พบความผิดปกติในสมอง (Primary headache) แต่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติของประ สาทสมองที่ชื่อ Trigeminal (Trigeminal automatic cephalalgias : TACs) โดยเชื่อว่ามีความผิดปกติของเซลล์สมองบริเวณก้านสมอง และส่งผลให้มีการหลั่งสารเคมีและสารสื่อประ สาทบางชนิด ไปมีผลต่อหลอดเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา (Dura mater) จึงทำให้มีอา การปวดศีรษะผิดปกติดังกล่าว

ใครคือกลุ่มมีโอกาสสูงที่เกิดอาการปวดศีรษะข้างเดียว?

อาการปวดศีรษะข้างเดียวมักเกิดขึ้นในกลุ่มผู้ใหญ่วัยกลางคน พบในผู้ชายมากกว่าผู้ หญิง พบมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้น้อยมาก

ปวดศีรษะข้างเดียวมีปัจจัยกระตุ้นอะไรบ้าง?

อากาศที่เปลี่ยนแปลง การดื่มแอลกอฮอล์ และการอดนอน จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอา การได้

รักษาอาการปวดศีรษะข้างเดียวอย่างไร?

การรักษาอาการปวดศีรษะข้างเดียว เป็นการรักษาต่างกันเฉพาะแต่ละชนิดของการปวด คือ
อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ รักษาโดยให้ดมออกซิเจน ให้ยาคาร์เฟอร์ก๊อต (Cafergot) ที่รักษาไมเกรนก็ได้ผล
อาการปวดศีรษะข้างเดียว Hemicranial continua ตอบสนองดีต่อยาแก้ปวด Indome thacin
ส่วนอาการปวดศีรษะ SUNCT/SUNA นั้นไม่มียาที่ได้ผลชัดเจน แต่ก็ตอบสนองต่อยา สเตียรอยด์/ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ เพร็ดนิโซโลน (Prednisolone), ยาคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine, ยาทางจิตเวชและยากันชัก) และยาลามิคทอล (Lamictal, ยาทางจิตเวชและยากันชัก)

ปวดศีรษะข้างเดียวมีผลข้างเคียงแทรกซ้อนหรือไม่?

อาการปวดศีรษะข้างเดียวนั้น ไม่มีอันตราย และ ไม่มีมีผลข้างเคียงแทรกซ้อนใดๆ แต่สร้างความรำคาญและทรมานในผู้ป่วยบางราย และไม่พบมีความสัมพันธ์กับการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก หรือ ความจำ

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์?

ผู้ป่วยทุกคน แนะนำให้พบแพทย์เมื่อมีอาการปวดศีรษะรุนแรง เพราะต้องให้แพทย์ตรวจประเมินว่า ไม่มีสาเหตุอื่นๆ เพราะบางโรคที่อันตราย อาจมีอาการคล้ายกันได้ เช่น เนื้องอกสมอง เนื้องอกของต่อมใต้สมอง เป็นต้น

เมื่อปวดศีรษะข้างเดียวควรดูแลตนเองอย่างไร?

กรณีมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ควรดูแลโดยการทานยาที่ได้ผล ตามที่แพทย์ได้ให้ยามารักษา หรือการดมออกซิเจนกรณีเป็นอาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ การรักษานั้นมีทั้ง
  • กรณีที่เป็นไม่บ่อย ก็ทานยารักษาเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆหรือช่วงที่มีอาการเท่านั้น
  • แต่กรณีที่เป็นบ่อยๆ และเป็นนาน อาจจำเป็นต้องทานยาต่อเนื่อง ถึงแม้ช่วงที่ไม่มีอาการก็ตา

ป้องกันอาการปวดศีรษะข้างเดียวได้หรือไม่?

การป้องกันอาการปวดศีรษะข้างเดียวที่ดีนั้นคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าวข้างต้นในหัวข้อ ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ การผ่อนคลาย การไม่เครีย การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการไม่ดื่มแอลกอฮอล์