วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รู้จักอาหารอิตาเลียนกันน่ะ

รู้จัก อาหารอิตาเลี่ยน

เนื่องจากผู้เขียนเองก็ไม่รู้ว่าชื่อไหนถูกตามหลักภาษาไทย ก็เลยขอเขียนมันทั้ง 3 ชื่อเลยละกัน ทั้ง อาหารอิตาเลี่ยน อาหารอิตาเลียน และอาหารอิตาลี วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของอาหารอิตาเลียน ซึ่งเป็นอาหารที่คนไทยเองก็รู้จักกันดี และต้องเคยกินกันอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นพิซซ่า, มะกะโรนี, สปาเก๊ตตี้ เป็นต้น แต่สำหรับหัวข้อนี้จะนำพาผู้อ่านไปรู้จักตั้งแต่ประวัติของอาหาร, อาหารประจำถิ่น รวมถึงวิธีทำในแบบสไตล์อิตาเลียนกันอย่างแท้จริง
อาหารอิตาเลียนถูกพัฒนามาหลากหลายศตวรรษด้วยกัน ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามสังคมและการเมืองในแต่ละยุคแต่ละสมัย จนมาถึงปัจจุบัน จริง ๆ แล้วอาหารอิตาเลียนนั้นในหลาย ๆ เมนูเป็นอาหารที่ทำง่าย เตรียมวัตถุดิบไม่อยากนัก บางเมนูใช้วัตถุดิบเพียงแค่ 4-8 ชนิด ซึ่งหลักสำคัญของการทำอาหารอิตาเลียนนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพวัตถุดิบมากกว่าการปรุงอาหาร และด้วยประวัติของเมนูหลาย ๆ ชนิดที่ถูกคิดค้นจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ใช่เชฟ ทำให้อาหารอิตาเลียนเป็นอาหารที่เหมาะสมกับการทำเองที่บ้านเป็นอย่างมาก


วัตถุดิบหลักของอาหารอิตาเลียน


อาหารอิตาเลียนมีความหลากหลายแตกต่างกันแลวแต่การนำไปใช้ ซึ่งมีทั้งผลไม้, ผัก, ซอส, เนื้อ และอื่น ๆ ซึ่งในแถบทางเหนือของอิตาลี ปลาคอด, มันฝรั่ง, ข้าว, ข้าวโพด, ไส้กรอก, เนื้อหมู และชีส เป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร
แถบทางเหนือของอิตาลี มีประเภทของพาสต้า โปเลนต้า หรือ ริช้อตโต้ ในหลากหลายประเภท และมีความนิยมเท่า ๆ กัน เมืองลิกัวเรีย จะมีเมนูของปลาและอาหารทะเลค่อนข้างเยอะ ดังนั้นวัตถุดิบทั่วไปที่ใช้ ก็อาทิเช่น น้ำมันมะกอก, ถั่วเปลือกแข็ง และ โหระพา ส่วนทางเอมิเลีย-โรมันญ่า ก็จะพบวัตถุดิบประเภทแฮม, ไส้กรอก, ซาลามี่ เป็นส่วนใหญ่
สำหรับในแถบตอนกลางของประเทศอิตาลี มักจะใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่เป็น มะเขือเทศ, เนื้อ, ปลา และเปโกริโนชีส โดยพาสต้าในแถบทัสคานี่จะเสริฟพร้อมซอสมะเขือเทศกับพริก
ในแถบตอนใต้ของอิตาลี จะใช้มะเขือเทศสดหรือมะเขือเทศที่สุกแล้ว, พริกไทย, มะกอก, น้ำมันมะกอก, กระเทียม, อาร์ทิโชค, ส้ม, ริค้อตต้าชีส, มะเขือยาว, ซูชินี่ และปลาบางประเภท อาทิเช่น ปลาแองโชวี่, ปลาซาดีน และทูน่า นอกจากนี้ยังมีคาเปอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารท้องถิ่นอีกด้วย
สำหรับอาหารอิตาเลียนที่รู้จักกันดีก็คือพาสต้า ซึ่งเมนูพาสต้าจะรวมถึงเส้นที่มีขนาดยาว, ขนาดกว้าง และรูปร่างอื่น ๆ ซึ่งรูปร่างต่าง ๆ ก็จะถูกเรียกต่าง ๆ กันไป อาทิเช่น เพนเน่, มะกะโรนี, สปาเก๊ตตี้, ลิงกวินี่, ฟูซิลี่, ลาซานญ่า และเมนูอื่น ๆ ซึ่งคำว่า “พาสต้า” นั้นถูกนำมาใช้กันเมนูอาหารที่นำวัตถุดิบจำพวกพาสต้ามาเป็นวัตถุดิบหลักในจานและเสริฟด้วยซอสนั่นเอง

ส่วนประกอบของมื้ออาหาร


โดยตามประเพณีแล้ว มื้ออาหารในอิตาลีจะเสริฟประมาณ 3 หรือ 4 คอร์ส ซึ่งปัจจุบันเองก็ยังใช้เสริฟในงานพิเศษต่าง ๆ อาทิเช่นงานแต่งงาน ส่วนเมนูในแต่ละะวันจะมีแค่เมนูที่หนึ่ง, เมนูที่สอง, สลัด และกาแฟ
เมนูอาหารแบบ Full Course เรียงตามลำดับ
  1. Aperitivo คือ เครื่องดื่มซึ่งดื่มเป็น Appletizer ก่อนมื้อหลัก อาจจะเป็น Campari, Cinzano, Prosecco, Aperol, Spritz และ Vermouth
  2. Antipasto คือ Appetizer โดยสามารถเลือกได้ว่จะเลือกเป็นแบบร้อนหรือเย็น
  3. Primo คือเมนูจานแรกส่วนใหญ่จะเป็นอาหารร้อน อาทิเช่น พาสต้า, ริซอตโต้ หรือซุป
  4. Secondo คือเมนูจานที่สอง ซึ่งเป็นเมนูจานหลักมักเป็นปลาหรือเนื้อ
  5. Contorno คือ เมนูที่จะเสริฟพร้อมเมนูจานหลัก โดยอาจจะเป็นสลัด หรือผักที่ทำให้สุกแล้ว
  6. Formaggio e frutta คือผลไม้และชีส เป็นของหวานจานแรกของ Full Course
  7. Dolce เป็นของหวานอย่างเค้ก และคุ้กกี้
  8. Caffe เสริฟเครื่องดื่มให้เป็นกาแฟ
  9. Digestivo ก็คือเครื่องดื่มช่วยย่อย อาทิเช่น พวกเครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นต้น

เมนูอาหารที่รู้จักกันโดยทั่วไป


เมนูจำพวกพาสต้า


ซึ่งอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พาสต้าเองก็มีชื่อเรียกในหลากหลายรูปแบบของเส้น อาทิเช่น มะกะโรนี, สปาเก๊ตตี้ เป็นต้น ซึ่งเส้นของพาสต้ายังถูกแบ่งเป็นสองประเภทคือ
  • เส้นพาสต้าสด ซึ่งมักจะใช้ทำเป็นวัตถุดิบที่ทำแล้วสามารถนำมาปรุงอาหารได้เลย โดยจะทำมาจากไข่และแป้งที่มีกลูเตนสูง ซึ่งเส้นพาสต้าสดจะไม่ขยายขนาดเมื่อนำมาปรุงสุกแล้ว
  • เส้นพาสต้าแบบแห้ง เป็นเส้นพาสต้าที่ผ่านกรรมวิธีของกระบวนการผลิตในโรงงาน จึงสามารถอยู่ได้นานกว่า เส้นพาสต้าที่มีคุณภาพดีให้ดูจากผิวจองเส้นต้องมีความหยาบเล็กน้อย และเมื่อนำไปปรุงควรจะมีการขยายขนาดได้ดี
เมนูจำพวกพาสต้า ที่เรารู้จักกันดี
ลาซานญ่า
ทำมาจากเส้นพาสต้ารูปร่างแบนใหญ่ ซึ่งเป็นรูปร่างที่มีความเก่าที่สุด ต้นกำเนิดของลาซานญ่ามาจากยุคกรีกโบราณ ซึ่งรูปร่างของลาซานญ่าในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีมาตั้งแต่อดีต จนกระทั่งในศตวรรษที่ 14 Francisco Zambrini ได้ตีพิมพ์หนังสือทำอาหารของเขาออกมา จึงมีสูตรแรกสำหรับการทำลาซานญ่าที่เป็นแบบชั้นของพาสต้าและชั้นของชีสสลับกัน นอกจากนี้แหล่งกำเนิดของลาซานญ่าที่เรารู้จักกันนดีนั้นน่าจะมาจาก Bolognese Lasagna
สปาเก็ตตี้คาโบนาล่า
เป็นจานเมนูสปาเก็ตตี้ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งเมนูนี้จะประกอบด้วย เส้นพาสต้า, ชีส, ไข่, เนื้อหมู และพริกไทยดำ

ข้าว & ริซอตโต้


ชาวอิตาเลียนปลูกข้าวกันมาเป็นระยะเวลานาน และมีการพัฒนาการนำข้าวมาปรุงอาหารเรื่อย ๆ จนปัจจุบันรู้จักกันไปทั่วโลกในฐานะเมนูอาหาร “ริซอตโต้” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเมนูอาหารนอกจากพาสต้า

พิซซ่าอิตาเลียน


ปัจจุบันมีพิซซ่าหลากหลายรูปแบบในอิตาเลียน ซึ่งตามร้านพิซซ่าส่วนใหญ่จะเป็นพิซซ่าขนากกลมแบน และทำตามออเดอร์ของลูกค้า ตามร้านพิซซ่าส่วนใหญ่จะใช้ตู้อบพิซซ่าเป็นตู้ไม้ ความหลากหลายของพิซซ่าสไตล์อิตาเลียนนั้นขึ้นอยู่กับท้องถิ่นอีกด้วย อาทิเช่น Pizza Marinara เป็นพิซซ่าสไตล์เนโปลี ที่มีส่วนประกอบเป็น ออริกาโน, แองโชวี่ และกระเทียม, Pizza Napoli Tomato เป็นพิซซ่าส่วนประกอบของแองโชวี่ และชีส Mozzarella, Capricciosa พิซซ่าที่โรยหน้าด้วยเห็ด, แฮม Prosciutto, อาร์ทิโชค, มะกอก และไข่ต้ม, Pizza Pugliese ส่วนประกอบหลักคือมะกอก และคาร์เปอร์, พิซซ่าจากซิซิลี ยังมีหลาย ๆ หน้าทั้ง มะกอกเขียว, อาหารทะเล และอื่น ๆ
นอกจากตามภูมิภาค แล้ว ความหลากหลายของพิซซ่ายังเป็นที่นิยมไปทั่วทั้งประเทศอิตาลี อาทิเช่น Quattro Formagi ใช้ชีส 4 ประเภทมารวมกัน คือ Mozzarella แบบสด และชีสท้องถิ่นอีก 3 ชนิดคือ Gorgonzola, Ricotta และ Parmigiano-reggiano เป็นต้น

ทีรามิสุ (Tiramisu)


เค้กและของหวานสไตล์อิตาเลียน ทำมาจากบิสกิตต์ Ladyfingers จุ่มกับกาแฟและทำเป็นชั้น ๆ สลับกับวิปครีมที่ทำมาจากไข่แดงและชีส mascarpone และมีกลิ่นของเหล้าและโกโก้นิด ๆ ซึ่งสูตรการทำทีรามิสุได้ถูกพัฒนามาในรูปแบบที่หลากหลาย

เจลาโต้ (Gelato)


เจลาโต้เป็นไอศกรีมอิตาเลียน ซึ่งมีความแตกต่างกับไอศกรีมทั่วไป คลิกที่นี่ >>> ความแตกต่างระหว่างไอศกรีมเจลาโต้ และไอศกรีมทั่วไป

เรื่องราวและเมนูอาหารอิตาเลียนที่น่าสนใจ


วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อาหารที่นิยมทานกันในสวิตเซอร์แลนด์ค่ะ

สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน ในแต่ละท้องถิ่นจะมีอาหารหลักที่แตกต่างกันออกไป ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายของชาวสวิสซึ่งขึ้นอยู่กับอิทธิพลที่ได้รับ จากประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ทั้งจากฝรั่งเศส, เยอรมัน และอิตาลี
Fondue Cheeseประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในอดีตเป็นเมืองเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกมันฝรั่งและการทำชีส ซึ่งชีสสวิสที่มีชื่อเสียงอย่างมาก นั่นคือ Emmental Cheese, Gruyère, Vacherin, และ Appenzeller นอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบที่มีชื่อเสียงอย่างมาก นั่นคือช็อคโกแล็ต
Chocolateอาหารที่จำเป็นต้องลิ้มลองกัน คือ Cheese Fondue และ Raclette (ฟองดูและ ราแคล็ต) เป็นอาหารพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวสวิสที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ยังมี Sausages and Roesti (มันฝรั่งซอยละเอียดทอด มีไส้กรอกเป็นเครื่องเคียง)
ตัวอย่างอาหารขึ้นชื่อ
  • Fondue
ชีสถูกหลอมละลายในหม้อ และนำขนมปังชิ้นเล็ก ๆจิ้ม ลักษณะการกินคือหม้อที่มีชีสจะอยู่กลางโต๊ะ และจะใช้ส้อมขนาดยาวจิ้มขนมปังลงไปในชีสร้อน ๆ เพื่อรับประทาน อาจดูเหมือนง่ายแต่จริง ๆแล้วความลับของความอร่อยนั้นอยู่ที่การผสมชีสในหม้อซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของ ชาวสวิส นอกจากชีสฟองดูแล้ว ยังมี ฟองดูที่นำเนื้อมาจิ้ม เรียกว่า Beef Fondue และของหวานที่นำมาดัดแปลงและเรารู้จักกันดีนั่นคือ Chocolate Fondue
Rösti
  • Raclette
เมนูที่ทำมาจากชีสอีกเมนูหนึ่งที่มีชื่อเสียง เป็นอาหารดั้งเดิมของชาวสวิสแถบภูเขา โดยจะใช้ชีสก้อนใหญ่ ๆมาละลายแล้วขูดชีสที่ละลายมาทากับขนมปัง ปัจจุบันยังมีการพัฒนาสูตรโดยนำไปชีสแผ่นหนาไปย่างแล้วกินกับมันฝรั่ง พร้อมเครื่องเคียงเป็นแตงเหลืองและหัวหอมดอง
Zürich Geschnetzeltes
  • Rösti
ทำมาจากมันฝรั่งบดนำไปทอดกับเนยหรือน้ำมัน และทำให้เป็นแผ่นแบน ๆ ลักษณะเช่นเดียวกับแพนเค้ก สามารถนำมารับประทานร่วมกันกับชีสหรือเบคอน
Rösti
  • Zürich Geschnetzeltes
สำหรับผู้ที่ชอบกินเนื้อเป็นชีวิตจิตใจ อาหารจานนี้ทำมาจากเนื้อลูกวัวนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ และนำไปปรุงกับครีม, เห็ดและไวน์ขาว เสริฟท์คู่กันกับ rösti ซึ่งเป็นอาหารดั้งเดิมของชาวสวิสอีกจานหนึ่ง
Zürich Geschnetzeltes
  • Chocolate
ช็อคโกแล็ตสวิสมีหลากหลายขนาด, รูปร่าง และกลิ่น และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในช็อคโกแล็ตที่ดีที่สุดในโลก ด้วยการควบคุมคุณภาพในโรงงานผลิตและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทางสมาคมผู้ผลิตช็อคโกแล็ตสวิส (Chocosuisse) เคยกล่าวไว้ว่าชาวสวิสนี่แหละที่เป็นผู้ที่กินช็อคโกแล็ตมากที่สุดในโลก
Raclette

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของสวิตเซอร์แลนด์

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของ สวิตเซอร์แลนด์

1. Bern 
เมืองหลวงของสวิตเซอร์แลนด์เป็นเมืองโบราณเก่าแก่และโรแมนติก การเดินเที่ยวชมความงดงามของสถาปัตยกรรมในเขตเมืองเก่า เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเมื่อมีโอกาสได้มาเยือนนครแห่งนี้ 
Bern สร้างขึ้นเมื่อ 800 ปีที่แล้ว โดยมีแม่น้ำ Aare ล้อมรอบตัวเมือง แม่น้ำแห่งนี้เปรียบเหมือนปราการธรรมชาติซึ่งป้องกันเมืองไว้ทั้งสามด้าน สำหรับด้านที่สี่ชาวเมืองได้สร้างกำแพงและสะพานข้ามที
สามารถชักขึ้นลงได้ และโดยการรักษาผังเมืองให้มีสภาพดังเดิมตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมา Bern จึงได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกของ UNESCO ซึ่งเป็นเมืองเดียวในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ 
การเดินชมเมืองควรเริ่มจาก Rose Garden เพียง 5 นาทีก็จะพบกับบ่อเลี้ยงหมีของเมือง ( หมี เป็น สัญลักษณ์ของ Bern ) จากนั้นเมื่อเดินข้ามสะพานมา ก็จะเริ่มเข้าเขตเมืองเก่า ที่มีหลังคาคลุมตลอดทางยาวถึง 6 กิโลเมตร ภายใต้หลังคานี้มีร้านค้ามากมายหลายร้อยแห่ง รวมทั้งภัตตาคารที่มีมากกว่า 150 แห่งในเขตเมืองเก่า และด้วยการดูแลรักษาสถาปัตยกรรมของเมืองอย่างดี Bern ยังเปรียบเหมือนเหมืองทองของนักถ่ายภาพอีกด้วย นอกจากนั้น Bern ยังมีโบสถ์ที่สูงที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้ง ตลาดนัดชาวนา ซึ่งจัดขึ้น 2 ครั้งต่อสัปดาห์ที่หน้ารัฐสภาของเมืองแห่งนี้ 

2. Interlaken 
"สวยเหมือนเมืองในฝัน" คือคำจำกัดความของ Interlaken ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบ Thun และ Brienz สถานที่ตากอากาศชั้นนำส่วนใหญ่ในถิ่นที่เรียกกันว่า Bernese Oberland ตั้งอยู่ตามเชิงเขา Eiger, Monch และ Jungfrau ทิวทัศน์แถบนี้บริสุทธิ์และสวยงามเกินคำบรรยาย จึงเป็นสถานตากอากาศที่นักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกชื่นชอบมากที่สุด 
Jungfraujoch หลังคาแห่งยุโรป ล่าสุดได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกของ Unescoเมื่อเดือนธันวาคม 2544 สถานีรถไฟสูงที่สุดในยุโรป ที่ไม่สามารถลืมไปได้ ในการทัศนาจรภูเขา ซึ่งมีความสูงถึง 3454 เมตร พบกับสิ่งสวยงามที่นี่คือ วังน้ำแข็ง และทัศนียภาพ ที่งดงามประกอบไปด้วย Sphinx หอคอยชมทัศนียภาพ ที่อยู่เหนือธารน้ำแข็ง Aletsch ( ยาวที่สุดในเทือกเขา Alps ) และยอดเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ ของประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมกันนี้ยังจะเดินเล่นบนหิมะ นั่งกระดานเลื่อนโดยมีสุนัข Husky ลาก สนามเล่นสกี สโนว์บอร์ทสำหรับฤดูร้อนหรือ ท่านที่ชอบการท้าทาย ก็มีการผจญภัยอีกหลายอย่าง รับรอง 100% ท่านจะพบกับ หิมะ และน้ำแข็งที่นี่ 
Mount Schilthorn Piz-Gloria จับรถไฟจาก INTERLAKEN สู่ LAUTERBRUNNEN ใช้เวลาประมาณ 35 นาที และจาก LAUTERBRUNNEN BLM ขึ้นเขาไปหมู่บ้าน MURREN เป็นหมู่บ้านปลอดรถยนต์ โดยรถรอกกว้าน (FUNICULAR) ต่อจากนั้นขึ้นรถกระเข้าที่ MURREN ไปยอดเขาชินธอน ที่ MOUNT SCHILTHORN PIZ-GLORIA มีภัตตาคารหมุนอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3000 เมตร ถ้าอากาศดีจะมองเห็นเทือกเขาแอล์ปได้รอบด้านตั้งแต่เยรมันจนถึง ฝรั่งเศสวิวทิวทัศน์สวยงามตระการตาอย่างยิ่ง 
Grindelwald รถไฟใช้เวลาประมาณ 35 นาที ขนาบข้างด้วยธารน้ำแข็ง 2 ด้านที่ทอดตัวยาวลงมาจากภูเขาสูงสู่หุบเขา จากที่นี่จะมองเห็นภูเขา Eiger ทางด้านเหนือ (North Face) ที่ยืนหยัดท้าทายผู้พิชิตความสูงมาแล้วมากมายและ Wetterhorn ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3701 เมตร 
Schynige Platte Alpine Garden มีพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามเทือกเขาแอล์ปให้ดูหลายชนิดใช้เวลาเดินชม 3-4 ชั่วโมง ค่าเข้าชม 40 ฟรังซ์ ต้องขึ้นรถไฟไปบนยอดเขา บน Schynige Platte มี Paragliding ให้ลองด้วย 
ล่องเรือในทะเลสาบ Thun และ Brienz ในวงล้อมของภูเขาสูง แวะชมปราสาท Thun ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12 และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่จัดแสดงในห้องโถงใหญ่ของปราสาท เปิดให้ชมระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนตุลาคม 
Spiez ชมปราสาทโบราณที่เปิดรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม ค่าโดยสารเรือฟรีโดยใช้สวิสพาสส์ 
พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง Ballenberg แสดงให้เห็นถึงชาติพันธุ์และการดำรงชีวิตในสมัยโบราณ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ถึง 31 ตุลาคม 
ล่องแพครึ่งวันกับไกด์นำเที่ยวรอบๆ Interlaken ราคาตั้งแต่ 54-84 ฟรังซ์ต่อคน ขึ้นอยู่กับรายการนำเที่ยว 
การผจญภัยตามช่องเขา น้ำตก ว่ายน้ำ สำรวจถ้ำ และเดินเท้า (Canyoning) ราคา 80-120 ฟรังซ์ต่อคน พร้อมไกด์นำเที่ยว

3. Luzern 
Water Tower และ Chapel Bridge เป็นสัญลักษณ์ของเมือง Lucerne ที่นักท่องเที่ยวจำได้ทันทีที่เห็น สร้างมานานกว่า 650 ปีแล้ว ตัวเมืองเก่าเริ่มจากฝั่งแม่น้ำ Reuss มีสถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้างที่น่าสนใจหลายแห่ง เมือง Luzern จะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวเกือบตลอดปี เพราะเป็นเมือง ชอปปิ้งที่อยู่ระดับแนวหน้าของสวิตเซอร์แลนด์ จะมีตลาดนัดเป็นประจำทุกวันอังคารและวันเสาร์ด้วย 

สถานที่เที่ยวและกิจกรรมที่แนะนำในเมือง Luzern :
- พิพิธภัณฑ์การขนส่งและคมนาคม (Museum of Transport and Communication) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีห้องจัดแสดงถึง 12 ห้องเป็นที่น่าสนใจและน่าชมมาก
- ภูเขา Titlis และ Pilatus เป็นภูเขาที่มีความชันที่สุดในโลก มีภัตตาคารอยู่บนยอดเขาที่สามารถชมทิวทัศน์โดยรอบได้
- ใช้สวิสพาสส์ล่องเรือชมทิวทัศน์ไปในทะเลสาบ Luzern จนถึงเมือง Vitznau สามารถต่อรถไฟขึ้นไปเที่ยวภูเขา Rigi (ความสูง 1798 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล)
- ภูเขา Stanserhorn เดินทางโดยรถรอกกว้านสมัยเก่าและรถกระเช้ารุ่นใหม่ล่าสุด (Aerial Cable Car) เพื่อชมทิวทัศน์และรับประทานอาหาร
- Casino Vegas เป็นสถานที่เสี่ยงโชคกับเครื่องเล่นสลัดแขนเดียว (Slot-machine) หลากชนิด และชมการแสดงพื้นเมืองจากทุกภาคของสวิตเซอร์แลนด์

4. Lausanne 
เมืองโลซานน์เป็นเมืองที่สงบและงดงามมากอยู่ติดกับทะเลสาบ เจนีวามีท่าเรือข้ามไปสู่ประเทศฝรั่งเศสได้ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์โอลิมปิค ซึ่งท่านจะพบกับการแสดงอันยิ่งใหญ่ของวินาทีแห่งประวัติศาสตร์โอลิมปิคกับสุดยอด Special Effect ที่จะทำให้คุณย้อนกลับไปอยู่ในเหตุการณ์จริง ชมหลักฐานที่สำคัญต่างๆในซุ้มนิทรรศการ ห้องจัดแสดงงาน ศูนย์ข้อมูลพร้อมศูนย์อำนวยความสะดวกต่างๆอย่างครบครัน รับฟรีบัตรเข้าชม Olympic Museum สำหรับท่านที่จองสวิตเซอร์แลนด์แพคเกจ 

5. Zurich 
เมืองใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ ศูนย์กลางการค้าทองคำของโลก ตั้งอยู่ทิศเหนือสุดของทะเลสาบ Zurich ศูนย์กลางสำคัญของธุรกิจพาณิชย์ เศรษฐกิจและการเงิน มีโรงละครโอเปร่า คอนเสิร์ต พิพิธภัณฑ์ โบสถ์และวิหารเก่าแก่อย่าง Grossmunster และ Fraumunster ที่จะพลาดไม่ได้เป็นอันขาดคือถนน Bahnhofstrasse ที่ขึ้นชื่อลือชาหนักหนาว่าแต่ละร้านล้วนตกแต่งประดับประดากันอย่างอลังการ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ตลอดสองข้างทางของถนนมีห้องเสื้อชั้นนำของยุโรป, รองเท้า, กระเป๋า, เครื่องประดับนานาชนิด และที่ขาดไม่ได้เลยคือร้านขายนาฬิกา 
Zurich มีรถรางและรถโดยสารบริการควบคู่กันไป การเดินทางไปที่ต่างๆ จึงสะดวกและประหยัดท่านสามารถใช้สวิสพาสส์ได้อีกเช่นเคย ในส่วนของเมืองเก่า น่าเดินเที่ยวเพราะมีร้านขายของเก่า ร้านภาพเขียนทั้งเก่าและใหม่ และร้านหนังสือดีๆ ตลอดจนถึงสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านอีกด้วย


การเดินทางในสวิตเซอร์แลนด์

ทางรถยนต์
การเดินทางโดยรถยนต์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้นสะดวกมาก ใบอนุญาตขับขี่สากลนั้นใช้ได้ในสวิส แต่อายุขั้นต่ำของผู้ขับขี่คือ 18 ปี ป้ายจราจรทั่วไป ในสวิตเซอร์แลนด์เหมือนกับป้ายจราจรในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกบางป้ายจะมีคำอธิบายอยู่ด้วย ป้ายจราจรตามเส้นทางที่เข้าใจง่าย แต่ควรจะใช้ความระมัดระวังในการขับรถตามถนนที่ค่อนข้างแคบและคดเคี้ยวไปมา สามารถที่จะหลีกเลี่ยงเส้นทางบนเขาได้โดยเลี่ยงไปใช้อุโมงค์สำหรับรถยนต์ หรือรถไฟ 
ความเร็วจำกัดในการขับรถยนต์ คือ บนทางด่วนไม่เกิน 120 กิโลเมตร / ชั่วโมง (75 ไมล์/ชั่วโมง) บนทางหลวงไม่เกิน 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง (31 ไมล์/ ชั่วโมง) การจำกัดความเร็วนั้นจะระบุเป็นกิโลเมตรเสมอ ตามทางด่วนจะใช้ป้ายบอกเส้นทางเป็นสีเขียวนอกจากจะระบุเป็นอย่างอื่น รถทางขวาจะเป็นผู้มีสิทธิได้ใช้ทางก่อน กฎจราจรเป็นแบบไปขวามาซ้าย ขับชิดขวา และแซงทางซ้าย ห้ามแซงทางขวา ผู้โดยสารทุกคนต้องขาดเข็มขัดนิรภัย เด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ จะต้องนั่งรัด เข็มขัดอยู่ในที่นั่งสำหรับ (Child Seat) รถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ใช้ทางด่วนจะต้องจ่ายค่าผ่านทางเป็นรายปีจำนวน 40 สวิสฟรังก์ ซึ่งเรียกกันว่า วิกแน็ต (Vignettte) 
ตามปกติ รถเช่าในประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะรวมค่าเช่ารถด้วย สำหรับยานพาหนะที่เช่ามาจากนอกประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะไม่รวมค่าผ่านทาง การจ่ายค่าผ่านทางด่วนนี้สามารถทำได้ที่ด่านชายแดนหรือที่สำนักงานไปรษณีย์ ของสวิตเซอร์แลนด์ หรือที่ปั๊มน้ำมัน 


ทางเครื่องบิน
มีสายการบินหลายสายที่บินเข้าท่าอากาศยานระหว่างประเทศของเมืองซูริค เมืองเจนีวา และเมืองบาเซิล 
สายการบินสวิส (Swiss International Air Lines) ให้บริการบินระหว่างจุดหมายปลายทาง 126 แห่ง ใน 59 ประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในยุโรป แต่ขณะเดียวกันก็ให้บริการบินไปยังทวีปอื่น ๆ ด้วย 
ที่สนามบินซูริคกับสนามบินเจนิวา มีสถานีรถไฟภายในบริเวณสนามบินและเส้นทางรถไฟ ที่อำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าไปในเมือง มีบริการทุก 10 - 20 นาที ใช้เวลาเดินทางเข้าเมืองเพียง 10 นาทีเท่านั้น และที่สถานีรถไฟของสนามบินทั้งสองแห่งมีรถไฟวิ่งระหว่างประเทศ ไปยังเมืองใหญ่ของทุกประเทศในยุโรปทุกชั่วโมง ที่เมืองบาเซิล มีรถประจำทางให้บริการจากสนามบินไปยังในเมือง ทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากสนามบินเข้าเมืองเพียง 15 - 20 นาที ชุมทางรถประจำทางในเมืองอยู่ติดกับสถานีรถไฟ 

ทางรถไฟ
ท่านจะชื่นชอบระบบรถไฟที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางและดีเยี่ยมของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะท่านจะเดินทางได้อย่างสะดวกสบายและผ่อนคลาย กับทั้งท่านยังสามารถเพลิดเพลินกับทัศนีย์ภาพที่งดงามสองข้างทางรถไฟ รถไฟจะออกจากสถานีทุก ๆ ชั่วโมง เริ่มต้นตั้งแต่เช้าตรู่ไปจนถึงเที่ยงคืน การต่อรถไฟก็ง่ายและสะดวกมาก ตามปรกติแล้วจะใช้เวลาในการเปลี่ยนขบวนรถเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ตั๋วรถไฟเที่ยวเดียวและตั๋วไป - กลับ มีขายที่สถานีรถไฟทุกแห่งในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับการเดินทางหลายเที่ยว ภายในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น เราแนะนำให้ท่านใช้ตั๋ว สวิส พาส (Swiss pass) ที่สะดวกและประหยัด 
การสำรองที่นั่งนั้นจำเป็นมากสำหรับรถไฟที่วิ่งบนเส้นทางสายท่องเที่ยว ที่เน้นเรื่องการชมวิวทิวทัศน์ เช่น สายกลาเชียร์ เอ็กซ์เพรส (Glacier Express) และ สายเบอร์นีน่า เอ็กซ์เพรส (Bernina Express) เป็นต้น การสำรองที่นั่งทำได้ ที่ สถานีรถไฟใหญ่ ๆ ทุกแห่ง 
- ยูโรพาส (Euro Pass)
- ยูเรลพาส (Eurail pass)
- ยูเรล ซีเล็คท์ พาส (Eurail Select Pass)
ถ้าท่านวางแผนที่จะเดินทางไปหลายประเทศในทวีปยุโรปทางเลือกที่ประหยัดได้แก่ " ยูเรล ซีเล็คท์ พาส" ซึ่งใช้ได้ในการเดินทางรวม 3 ประเทศที่มีพรมแดนติดกัน "ยูโรพาส" ซึ่งใช้ได้ใน 9 ประเทศหรือ "ยูเรลพาส" ซึ่งใช้ได้ในการเดินทางรวม 17 ประเทศ บัตรโดยสารเหล่านี้ให้สิทธิแก่ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักถาวรในยุโรปได้ เดินทางอย่างไม่จำกัดเที่ยวบนเครือข่ายบริการเดินทางโดยรถไฟในยุโรปที่มีมากที่สุดถึง 17 ประเทศ รวมทั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วย เด็ก ๆ อายุตั้งแต่ 4 ขวบ จนถึง 12 ปี จ่ายค่าโดยสารครึ่งราคา 
ตั๋วยูเรลพาส ไม่มีขายในทวีปยุโรป ดังนั้น จึงควรซื้อตั๋วนี้ก่อนการเดินทางออก จากประเทศไทย โดยซื้อได้จากสำนักงานท่องเที่ยวของท่าน บัตรโดยสารหลักและเรือล่องทะเลสาบบางสายในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เท่านั้น

สวิตเซอร์แลนด์

สมาพันธรัฐสวิส
Confoederatio Helvetica (ละติน)
Confédération Suisse (ฝรั่งเศส)
Schweizerischen Eidgenossenschaft (เยอรมัน)
Confederazione Svizzera (อิตาลี)
ธงชาติตราแผ่นดิน
คำขวัญUnus pro omnibus, omnes pro uno[1] (ละติน)
("หนึ่งเดียวเพื่อทุกสิ่ง ทุกสิ่งเพื่อหนึ่งเดียว")
เพลงชาติสวิสซาล์ม
เมืองหลวงเบิร์น
46°57′N 7°27′E / 46.950°N 7.450°E
เมืองใหญ่สุดซูริก
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาโรมานช์[2]
การปกครองประชาธิปไตยทางตรง
สหพันธ์สาธารณรัฐ
 - สภาสหพันธ์ดีดีเย บูร์คฮัลเทอร์ (ประธานาธิบดี)
โดริส ลอยทาร์ด
เอเวอลีน วิดเมอร์-ชลุมพฟ์
ซีโมเนตตา ซอมมารูกา
โยฮันน์ ชไนเดอร์-อัมมันน์
อาแล็ง แบร์แซ
เอกราชกฎบัตรสหพันธ์ 
 - ประกาศ1 สิงหาคม ค.ศ. 1291 
 - เป็นที่ยอมรับ24 ตุลาคม ค.ศ. 1648 
 - รัฐสหพันธ์12 กันยายน ค.ศ. 1848 
พื้นที่
 - รวม41,285 ตร.กม. (132)
15,940 ตร.ไมล์ 
 - แหล่งน้ำ (%)4.2 %
ประชากร
 - ก.ย. 2551 (ประเมิน)7,581,520 (95)
 - ความหนาแน่น176 คน/ตร.กม. (61)
472 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)2005 (ประมาณ)
 - รวม264.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (37)
 - ต่อหัว35,300 ดอลลาร์สหรัฐ (10)
จีดีพี (ราคาตลาด)2546 (ประมาณ)
 - รวม309 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (17)
 - ต่อหัว50,524 ดอลลาร์สหรัฐ (4)
HDI (2556)0.917 (สูงมาก) (3)
สกุลเงินฟรังก์สวิส (CHF)
เขตเวลาCET (UTC+1)
 - (DST)CEST (UTC+2)
โดเมนบนสุด.ch
รหัสโทรศัพท์41
สวิตเซอร์แลนด์ (อังกฤษSwitzerlandเยอรมันdie Schweizฝรั่งเศสla SuisseอิตาลีSvizzeraโรมานช์Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส(อังกฤษSwiss ConfederationละตินConfoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง

ภูมิศาสตร์Edit

Wintertime view of Sent, in the eastern canton of Graubünden.
พื้นที่มากกว่า 70% เป็นเขตภูเขา คือ เทือกเขาแอลป์ มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำโรน แม่น้ำทิซิโน และแม่น้ำอิน ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมีเพียง หินแกรนิต หินปูน และหินที่ใช้ในการก่อสร้างเท่านั้น

ประวัติศาสตร์Edit

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

เมื่อ 10,000 ปีก่อนคริตสกาล พวกกลุ่มนักล่าสัตว์และกลุ่มคนเร่ร่อนได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ (Alp) ซึ่งในปัจจุบันก็คือพื้นที่บริเวณ Graubünden ใจกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นครั้งแรก ต่อมาก็ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆ ตามพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบต่างๆ จนกระทั่งเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาลชนเผ่าเซลท์ (Celt คือกลุ่มชนชาติที่พูดภาษาเซลติก) ได้เริ่มย้ายถิ่นฐานจากทางเยอรมันตอนใต้ เข้าไปสู่พื้นที่ลุ่มทะเลสาบในตอนกลางของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มมากขึ้น โดยทางด้านตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่อยู่อาศัยของพวก Raetia ส่วนทางด้านตะวันตกถูกครอบครองโดยชาว Helvetii นอกจากนั้นก็ยังมีชนเผ่าอื่นๆ ที่กระจัดกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกเป็นจำนวนมาก คือ ชนเผ่า Lepontier ทางแคว้น Tessin ชนเผ่า Seduner ในเขต Wallis และทะเลสาบเจนีวา
ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรโรมันในประมาณ 58 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าโรมันภายใต้การนำของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้เข้าโจมตีและยึดดินแดนของชนเผ่า Helvetii และดินแดนส่วนอื่นๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ช่วงนี้เองที่ได้เริ่มที่การก่อสร้างถนนหนทางและระบบผังเมืองขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น ในบริเวณเมือง Basel, Chur, Geneve, Zurich ในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Avenches
ในช่วงปลายของยุคสมัยโรมัน ประมาณปีคริตศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ศาสนาคริสต์ได้เผยแผ่เข้ามาในเขตประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ได้มีการตั้งตำแหน่ง Bishop ขึ้นตามเมืองต่างๆ และเชื่อกันว่าอาณาจักรโรมันก็ล่มสลายลงในช่วงนี้เอง
หลังจากที่อาณาจักรโรมันค่อยๆเริ่มเสื่อมลง พวกชาวเยอรมันเผ่าต่างๆ ก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเข้ามาในเขตนี้แทน โดยชนเผ่า Burgundian เข้ามายึดครองบริเวณทางแถบ Jura ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ บริเวณแม่น้ำ Rhðne และทะเลสาบเจนีวา ส่วนพวก Alamannic ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ (Rhein) ส่วนการเผยแผ่ศาสนาก็ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ โดยพระนักสอนศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญในเขตเมืองต่างๆ รวมทั้งยังมีการสร้างวัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมือง St. Gallen และ Zurich เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire ซึ่งอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรของจักรรรดิชาร์ลมาญแห่งเยอรมันหรือเรียกว่าเป็นอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรโรมันในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด) ก็ได้มีการนำระบบกฎหมายต่างๆ เข้ามาใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการร่างสนธิสัญญา Verdun ขึ้นในปี ค.ศ. 834 โดยพื้นที่บริเวณตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ (Burgundain) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Lothair ที่ 1 และทางด้านตะวันออก (Alamannic) อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Louis the German ในศตวรรษที่ 10 เมื่อระบบการปกครองแบบใช้กฎหมายเสื่อมลง พวกชนเผ่าแมกยาร์ (Magyar) ก็เข้ามาทำลายเมืองใหญ่ต่างๆ ของเผ่า Burgundian และ Alamannic แต่ต่อมาเมื่อกษัตริย์ Otto ที่ 1 ทำสงครามชนะพวกชนเผ่าแมกยาร์ในปี ค.ศ. 955 ก็มีการรวมพื้นที่บริเวณของ 2 ชนเผ่าเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของ Holy Roman Empire อีกครั้ง และยังได้มีการรวบรวมแคว้นต่างๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อาณาจักรนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับสบวร์ก (Habsburg dynasty) ไปจนกระทั่งกษัตริย์ Rudolph ที่ 1 แห่งราชวงศ์ฮับสบวร์กสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1291

ยุคของอดีตสมาพันธรัฐสวิส

ช่วงที่ถือได้ว่าเป็นช่วงของการก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือสมาพันธรัฐสวิสอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1291 เมื่อมณฑล 3 มณฑลในเขตเทือกเขาแอลป์ คือ Uri, Schwyz และ Unterwalden ได้รวมตัวกันขึ้นเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส (Old Swiss Conferderation หรือที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า Alte Eidgenossenschaft ซึ่งการรวมกลุ่มนี้ไม่ได้เพื่อต้องการแยกออกเป็นประเทศ แต่เพียงเพื่อต้องการจะต่อต้านอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก ซึ่งการรวมกลุ่มครั้งนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ฮับส์บวร์กและมีการทำสงครามกันเรื่อยมา ในปี1315 กลุ่มของชาวบ้านที่เป็นทหารของสวิสในสมัยนั้นก็ทำสงครามชนะทหารของราชวงศ์ฮับส์บวร์กในสงคราม Morgaten หลังจากนั้นเมือง Zürich, Lucerne, Glarus, Zug และ Bern ก็ได้เข้าร่วมเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส และได้มีการเรียกชื่อกลุ่มการรวมตัวของมณฑล 8 มณฑลนี้ว่า Schwyz ภายหลังจากการรวมตัวนี้แล้ว ก็ยังคงมีการรวมตัวของมณฑลต่างๆ อยู่เรื่อยๆ จนเมื่อสิ้นสุดปี ค.ศ. 1513 ก็มีมณฑลเข้าร่วมทั้งหมด 13 มณฑล
ภายหลังจากที่มีการรวมตัวกันในปี 1513 แล้ว ก็ยังคงมีการทำสงครามกันภายในพื้นที่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปัจุจบันอยู่เรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสงครามทางศาสนา แต่สงครามที่ยาวนานที่สุด คือ สงคราม 30 ปี (Thirty Years´War ค.ศ. 1618-1648) ซึ่งในช่วงแรกของสงครามนี้เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิกกับโปรแตสแตนท์ แต่ต่อมาสงครามได้ขยายวงกว้างไปเป็นสงครามการขยายอำนาจภายในทวีปยุโรป สงคราม 30 ปีสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศสันติภาพ Peace of Westphalia และสืบเนื่องมาจาก Peace of Westphalia นี้เอง ประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ประกาศแยกตัวออกจากอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1648
ในยุคที่ราชวงศ์ของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในประวัติศาสตร์ยุโรป กองทัพของนโปเลียน (Napolean Bonaparte) ก็เข้าครอบครองสวิตเซอร์แลนด์และสถาปนาเป็นสาธารณรัฐเฮลเวติค ในปี ค.ศ. 1798 ทำให้ดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในปี 1803 ภายใต้การปกครองของนโปเลียนได้มีการรวบรวมมณฑลต่างๆ ในสมาพันธรัฐสวิสอีกครั้งนอกจากนั้นยังได้สถาปนาเขต 6 เขต คือ ขึ้นเป็นมณฑลใหม่ ในปี 1815 ได้มีการสถาปนาสมาพันธรัฐสวิสขึ้นมาใหม่ ที่คองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ขึ้น โดยมีการเพิ่มจำนวนมณฑลเข้าไปอีก 3 มณฑล ในคองเกรสนี้เองได้มีการลงนามให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เป็นกลางทางการเมือง คือเป็นการประกาศว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไม่ให้มีการทำสงครามกันระหว่างฝรั่งเศส เยอรมัน และออสเตรีย และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี 1848 (Fereral Constitution) ซึ่งในรัฐธรรมนูญระบุให้เมือง Bern เป็นเมืองหลวงของสมาพันธรัฐ โดยมีภาษาที่ใช้เป็นภาษาทางการ 3 ภาษา คือ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้วางตัวเป็นกลางทางด้านการทหาร บทบาทสำคัญเพียงอย่างเดียวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็คือการส่งสภากาชาดเข้ามาช่วยเหลือ เมื่อสงครามโลกผ่านพ้นไป กลิ่นอายแห่งสงครามกลับทำให้เศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ตกต่ำลง และเริ่มฟื้นฟูขึ้นใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ยุคนี้ยังเป็นยุคแห่งการถือกำเนิดของศิลปินชื่อดังอีกด้วย
ถึงแม้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะวางตัวเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับมีบทบาทสำคัญในทางด้านเศรษฐกิจ คือธนาคารของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้กลายเป็นสถานที่เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเงินผิดกฎหมายของพวกนาซีเยอรมัน

ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติภาคพื้นยุโรปที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศหลายประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาติแต่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าบ้านกลับไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมัยแรก โดยองค์การสากลแห่งแรกที่สวิสเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือองค์การ UNESCO ซึ่งเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2545(ค.ศ. 2002) ต่อมาในปี 2548 ประชาชนชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำการลงประชามติเพื่อให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมเป็นประเทศในสนธิสัญญาเช็งเก็น (Schengen Agreement)
ตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาเช็งเก็น นักท่องเที่ยวที่มีใบอนุญาตเช็งเก็น (Schengen Visa) แบบมัลติเพิลของประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มเช็งเก็นสามารถเดินทางเข้าออกประเทศอื่นๆ ในกลุ่มเช็งเก็นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าของประเทศนั้นๆ ปัจจุบันประเทศในกลุ่มเช็งเก็นมีด้วยกันทั้งหมด 27 ประเทศรวมทั้ง ประเทศเบลเยียมประเทศฝรั่งเศสประเทศอิตาลีประเทศลักเซมเบิร์ก,ประเทศเนเธอร์แลนด์ประเทศเดนมาร์กประเทศกรีซประเทศโปรตุเกสประเทศสเปนประเทศเยอรมนีประเทศออสเตรียประเทศฟินแลนด์ประเทศสวีเดน,ประเทศนอร์เวย์ประเทศไอซ์แลนด์ประเทศมอลตาสาธารณรัฐเช็กประเทศเอสโตเนียประเทศฮังการีประเทศโปแลนด์ประเทศสโลวาเกียประเทศสโลวีเนีย,ประเทศลัตเวียประเทศลิทัวเนีย ประเทศโมนาโกและ โครเอเชีย

การเมืองการปกครองEdit

แต่ละรัฐมีรัฐธรรมนูญ และ รัฐบาลท้องถิ่นของตนเองโดยมีอิสระจากการบริหารราชการของส่วนกลาง อำนาจนิติบัญญัติของสมาพันธ์ฯ อยู่ที่รัฐสภาแห่งสมาพันธ์ (Federal Assembly)

บริหาร

ในการบริหารราชการส่วนกลาง อำนาจบริหารจะอยู่ที่คณะรัฐมนตรีเรียกว่า the Federal Council ซึ่งมีสมาชิกเรียกว่า Federal Councillor (มนตรีแห่งสมาพันธ์) มีทั้งหมด 7 คน ทำหน้าที่ควบคุมบริหารงานในหน่วยงานระดับกระทรวง 7 แห่ง รัฐสภาแห่งสมาพันธ์เป็นผู้เลือกมนตรีแห่งสมาพันธ์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี และในจำนวนมนตรีแห่งสมาพันธ์ทั้ง 7 คน จะได้รับเลือกจากรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ผลัดเปลี่ยนกันครั้งละหนึ่งคน เพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี โดยมีสถานะเป็น “the first among equals” ดังนั้น ประธานาธิบดีสวิสจึงไม่มีการเยือนต่างประเทศในฐานะประมุขแห่งรัฐ

นิติบัญญัติ

ซึ่งประกอบด้วยสภาแห่งชาติ (National Council) และ สภาแห่งรัฐ (Council of States) ทั้งสองสภามีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันสภาแห่งชาติ ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงมีจำนวน 200 คน แต่ละรัฐจะมีจำนวนผู้แทนของตนมากน้อยตามจำนวนประชากร (1:34,000) แต่อย่างน้อยที่สุด แต่ละรัฐจะมีผู้แทน 1 คน สภาแห่งรัฐ มีจำนวนสมาชิก 46 คน โดยแต่ละรัฐมีผู้แทน 2 คน การดำเนินงานที่สำคัญของรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ กระทำผ่าน standing committees ด้านต่าง ๆ อาทิ การคลัง การต่างประเทศ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และการวิจัย การทหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม การคมนาคม พลังงาน ฯลฯ
นับตั้งแต่ ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา สวิตเซอร์แลนด์ได้ปกครองและบริหารโดยพรรคการเมืองหลัก 4 พรรค ได้แก่ พรรค Radical Democratic (RDP) พรรค Social Democratic Party (SDP) พรรค Christian Democratic People’s Party (CDP) และพรรค Swiss People’s Party (SVP) ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า แต่ละพรรคจะได้รับจัดสรรตำแหน่งมนตรีของสมาพันธ์พรรคละ 2 คน ยกเว้น Swiss People’s Party ได้ 1 คน นอกจากนั้น ผู้จะดำรงตำแหน่งมนตรีแห่งสมาพันธ์จะมาจาก Canton เดียวกันเกิน 1 คนไม่ได้ และเป็น ธรรมเนียมว่าจะต้องมีผู้แทนจาก 3 Canton หลัก ได้แก่ Zurich, Berne และ Vaud แห่งละ 1 คน ลักษณะพิเศษของระบบประชาธิปไตยแบบสวิสคือ อำนาจสูงสุดในทางนิติบัญญัติมิได้อยู่ที่สภาแต่อยู่ที่ประชาชนโดยตรง เพราะตามรัฐธรรมนูญประชาชนมีสิทธิในการออกเสียงประชามติ (referendum) และการริเริ่ม (initiative) กล่าวคือ กฎหมายทุกฉบับที่ผ่านสภาแห่งสมาพันธ์แล้ว จะยังไม่มีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมาย จะต้องรอให้ครบ 90 วันเสียก่อน ในระหว่างนั้นประชาชนจะมีสิทธิคัดค้านโดยจะต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพื่อให้มีการจัดทำประชามติ ส่วนอำนาจในการริเริ่มของประชาชนจะสามารถใช้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 100,000 คน เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ

ตุลาการ

ด้านอำนาจตุลาการ ศาลชั้นต้นและศาลชั้นกลางจะเป็นศาลของมณฑล โดยใช้กฎหมายสมาพันธ์ร่วมด้วย และ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาโดยตรง แม้แต่ผู้พิพากษาสมทบก็อาจเป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ได้รับเลือกจากคนในท้องถิ่น ส่วนศาลฎีกาแห่งสมาพันธ์ (Federal Supreme Court) มี ที่ตั้งอยู่ที่เมืองโลซานน์ เพื่อเน้นการแบ่งแยกอำนาจจากรัฐบาลกลางที่กรุงเบิร์น ศาลฎีกาเป็นทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา ประกอบด้วยผู้พิพากษาประมาณ 30 คน ที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาแห่งสมาพันธ์

การแบ่งเขตการปกครองEdit

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391) สวิตเซอร์แลนด์ได้เริ่มใช้ระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่มีลักษณะการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ อยู่ภายใต้รัฐบาลกลาง เรียกว่า สมาพันธรัฐ
สมาพันธรัฐสวิสประกอบด้วย 26 รัฐ (อังกฤษcantonsเยอรมันKanton) ได้แก่
รัฐเมืองหลวงรัฐรัฐเมืองหลวงรัฐ
Wappen Aargau matt.svgอาร์เกาอาเราWappen Nidwalden matt.svg*นิดวัลเดินชสตันส์
Wappen Appenzell Ausserrhoden matt.svg*อัพเพนเซลล์ เอาส์เซอร์โรเดินเฮริเซาWappen Obwalden matt.svg*ออบวัลเดินซาร์เนิน
Wappen Appenzell Innerrhoden matt.svg*อัพเพนเซลล์ อินเนอร์โรเดินอัพเพนเซลล์Wappen Schaffhausen matt.svgชาฟฟ์เฮาเซินชาฟฟ์เฮาเซิน
Wappen Basel-Landschaft matt.svg*บาเซิล-ลันด์ชาฟท์ลีสตาลWappen des Kantons Schwyz.svgชวีซชวีซ
Wappen Basel-Stadt matt.svg*บาเซิล-ชตัดท์บาเซิลWappen Solothurn matt.svgโซโลทูร์นโซโลทูร์น
Wappen Bern matt.svgเบิร์นเบิร์นWappen St. Gallen matt.svgซางท์กาลเลินซางท์กาลเลิน
Wappen Freiburg matt.svgฟรีบูร์กฟรีบูร์กWappen Thurgau matt.svgทูรเกาเฟราเอนเฟลด์
Wappen Genf matt.svgเจนีวาเจนีวาWappen Tessin matt.svgติชีโนเบลลินโซนา
Wappen Glarus matt.svgกลารุสกลารุสWappen Uri matt.svgอูรีอัลท์ดอร์ฟ
Wappen Graubünden matt.svgเกราบึนเดินคูร์Wappen Wallis matt.svgวาเลซีออง
Wappen Jura matt.svgชูราเดอเลมงWappen Waadt matt.svgโวโลซาน
Wappen Luzern matt.svgลูเซิร์นลูเซิร์นWappen Zug matt.svgซุกซุก
Wappen Neuenburg matt.svgเนอชาแตลเนอชาแตลWappen Zürich matt.svgซูริกซูริก
*กิ่งรัฐมีเหล่านี้มีผู้แทนเพียงหนึ่งคน (ปกติมีสอง) ในสภาแห่งรัฐสวิส
รัฐเหล่านี้มีประชากรเป็นจำนวนระหว่าง 15,000 คน (รัฐอัพเพนเซลล์ อินเนอร์โรเดิน) และ 1,253,500 คน (รัฐซูริก) และมีขนาดพื้นที่ระหว่าง 37 ตารางกิโลเมตร (รัฐบาเซิล-ชตัดท์) และ 7,105 ตารางกิโลเมตร (รัฐเกราบึนเดิน) รัฐแต่ละแห่งจะมีเทศบาล (อังกฤษcommunesเยอรมันGemeinden) รวมทั้งหมด 2,889 เขตเทศบาล
ชื่อต่อไปนี้เป็นเขตปกครองที่มีดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์โอบล้อมอยู่: บือซิงเงิน(Büsingen) เป็นดินแดนของประเทศเยอรมนี และกัมปีโอเนดีอิตาเลีย(Campione d'Italia) เป็นดินแดนของประเทศอิตาลี

นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์Edit

ก่อนปี ค.ศ. 1980 นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ยึดหลักการ 4 ประการ คือ ความ เป็นกลาง (neutrality) ความมีน้ำหนึ่งใจเดียว (solidarity) ความเป็นสากล (universality) และความเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม (availability) ต่อมาเมื่อกิจการต่างประเทศเริ่มมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจการสาขาอื่น ๆ โดยเฉพาะเศรษฐกิจ การเงิน สิ่งแวดล้อม และกฎหมาย และการที่โลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์และหน่วยงานหรือ องค์กรต่าง ๆ ได้เริ่มมีบทบาทในกิจการต่างประเทศมากขึ้น ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศ และได้จัดทำสมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 90 ซึ่งได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐบาลในปี ค.ศ. 1993 นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์สำหรับปี 2545 สรุปได้ดังนี้

การเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

สวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญลำดับแรกต่อการเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ขณะนี้รัฐบาลได้เร่งรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญขององค์การสหประชาชาติ ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสี่พรรค ได้ให้ความเห็นชอบต่อการเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าว และได้จัดการลงประชามติทั่วประเทศในวันที่ 3 มีนาคม 2545 โดยก่อนหน้านั้นเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1986 รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดการลงประชามติการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ แต่ประชาชนสวิสส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเกรงจะเสียความเป็นกลางซึ่งเป็นนโยบายหลักของประเทศตลอดมา แต่ในการลงประชามติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2002เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนสวิสและเสียงส่วนใหญ่ของรัฐ (Canton) ได้ลงมติให้ความเห็นชอบการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติของสมาพันธรัฐสวิส โดยผู้ลงมติเห็นด้วยคิดเป็นร้อยละ 54.61 ผู้ลงมติไม่เห็นด้วยร้อยละ 45.39 และรัฐ (Canton) ที่เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยมีจำนวน 12 รัฐ จากจำนวนรัฐ ทั้งหมด 23 รัฐ การลง ประชามติครั้งนี้มีประชาชนออกมาใช้สิทธิร้อยละ 57.7 ทั้งนี้ สมาพันธรัฐสวิสได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก สหประชาชาติอย่างเป็นทางการและได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในช่วงการประชุมสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 57 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002

การเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรป

รัฐบาลสวิสชุดปัจจุบันได้ประกาศเป็นนโยบายแน่ชัดที่จะเข้าไปมีบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศให้มากขึ้น อาทิ การจะเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และการพยายามจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์จะไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้อีกต่อไป ในปี ค.ศ. 1992 สวิตเซอร์แลนด์ได้จัดการลงประชามติเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกเขตการค้าเสรียุโรป (European Economic Area) แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ รัฐบาลจึงหาทางออกโดยการเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1994 เพื่อทำความตกลงทวิภาคีใน 7 สาขา คือ การเคลื่อนย้ายบุคคลและแรงงานเสรี การวิจัย การขนส่งทางบก การบิน การเปิดเสรีทางการค้า การให้สิทธิภาคเอกชนของประเทศสหภาพยุโรปและ
สวิตเซอร์แลนด์เข้าไปประมูลหรือดำเนินกิจกรรมที่เป็นการจัดซื้อโดยรัฐในอีกประเทศหนึ่งได้เท่าเทียมคนชาติ การลดอุปสรรคการค้าระหว่างกัน และเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1999 สวิตเซอร์แลนด์และสหภาพยุโรปได้ ลงนามความตกลงดังกล่าวซึ่งสภาแห่งชาติของสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้สัตยาบันความตกลงฯ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1999 และผ่านการลงประชามติจากประชาชนร้อยละ 62.7 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 รวมทั้งได้ผ่านการให้สัตยาบันจากรัฐสภาเบลเยี่ยมเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประเทศสุดท้ายแล้วเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 ซึ่งหลังจากนั้น รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้เริ่มการเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรปอีก 10 สาขา คือ การบริการ การจ่ายเงินบำนาญ การแปรรูปสินค้าเกษตร สิ่งแวดล้อม สถิติ การศึกษา กิจการเยาวชน บัญชีเงินฝากธนาคาร ความร่วมมือเพื่อต่อต้านการฉ้อโกง และความร่วมมือด้านการศาสนา กิจการตำรวจและการอพยพย้ายถิ่นฐาน อย่างไรก็ตาม มีกระแสเรียกร้องให้เปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปโดยทันทีเพื่อเร่งรัดการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งรัฐบาลสวิสไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องนี้ เนื่องจากเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์จะพร้อมเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปในช่วงระหว่างปี 2004-2007 และอาจพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหลังปี 2010 แต่เมื่อมีประชาชน 100,000 คน เข้าชื่อเรียกร้องให้จัดการลงประชามติ รัฐบาลสวิสก็ได้จัดการลงประชามติขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2001 ผลปรากฏว่าประชาชนกว่าร้อยละ 76.7 ลงคะแนนไม่เห็นด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สนับสนุนการเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรป จะเป็นชาวสวิสในเขตสวิส ฝรั่งเศส ในขณะที่ชาวสวิสเยอรมันเกินร้อยละ 85 ลงคะแนนไม่เห็นด้วย

ความสัมพันธ์ทวิภาคีสวิตเซอร์แลนด์กับประเทศเอเชีย-แปซิฟิก

รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเอเชียแปซิฟิก ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และได้เริ่มมิติใหม่ต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยี แต่ นาย Deiss ได้ยอมรับว่ารัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์มีบทบาทแข็งขันในการช่วยเหลือพัฒนาประเทศเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน เนปาล ภูฐาน อินเดีย บังคลาเทศ และเอเชียกลาง เช่น คีร์กิซสถาน ซึ่งความช่วยเหลือส่วนใหญ่จะทำในกรอบความร่วมมือพหุภาคีภายใต้องค์การระหว่างประเทศ และมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ (pool of experts) กว่า 600 คน ซึ่งพร้อมจะเดินทางไปให้ความร่วมมือช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี สำหรับอัฟกานิสถานนั้น สวิตเซอร์แลนด์เข้าไปมีบทบาททั้งในการเจรจาด้านการเมืองและได้มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผ่านสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์การกาชาดสากล (ICRC) เป็นมูลค่ากว่า 17 ล้านฟรังค์สวิสในปี ค.ศ. 2001 โดยให้ความสำคัญกับการ ช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศและการยกระดับความเป็นอยู่ของสตรี แต่จะไม่เข้าร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพ และในครึ่งแรกของปี ค.ศ. 2002 สวิตเซอร์แลนด์กำหนดจะเปิดสำนักงานติดต่อ (coordination Office) ที่กรุงคาบูล แต่ในขณะนี้ยังใช้ช่องทางการติดต่อผ่านสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำปากีสถาน

กองทัพEdit

กองกำลังกึ่งทหาร

เศรษฐกิจEdit

ภาวะเศรษฐกิจ

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 - 20 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมลดลงจากร้อยละ 60 ของปีพ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) เหลือเพียงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เป็นต้นมา มีแรงงานเพียงร้อยละ 5 ที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม
ภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีบทบาทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) และภาคบริการเริ่มเข้ามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี พ.ศ. 2534 - 2539 (ค.ศ. 1991 - 1996) เป็นผลจากมาตรการทางการเงินที่เข้มงวด ของสวิตเซอร์แลนด์เองแ ละการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของสวิตเซอร์แลนด์
ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2542 (ค.ศ. 1997 - 1999) สภาวะเศรษฐกิจสวิตเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี มาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ธนาคารชาติสวิสนำมาใช้ทำให้ค่าของเงินฟรังก์สวิตลดลงเกือบร้อยละ 10 รวมทั้งสภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยที่เอื้อให้การส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันภาวะการจ้างงานภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นก็ช่วยให้การบริโภคภายในประเทศสูงขึ้นด้วย
แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะมีค่าจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับสามของประเทศอุตสาหกรรมรองจากเดนมาร์กและนอร์เวย์ แต่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ แรงงานที่มีคุณภาพสูง บวกกับต้นทุนทางสังคมที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงสุดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
ภาคบริการของสวิตเซอร์แลนด์มีการจ้างงานกว่าสองในสามของการจ้างงานทั้งหมด รายได้ประชาชาติกว่าสองในสามมาจากภาคบริการ ที่สำคัญได้แก่ ภาคบริการผู้ผลิต อาทิ บริการด้านการเงิน การประกันภัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งทำรายได้ถึงหนึ่งในสาม
  • ภาคบริการการจำหน่าย เช่น การค้า การขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม
  • ภาคบริการสังคม เช่น สุขภาพ การศึกษา ภาคราชการ บริการด้านวัฒนธรรม และการพักผ่อน และ
  • ภาคบริการบุคคล (personal services) อาทิ การท่องเที่ยว บริการต่าง ๆ สำหรับครัวเรือน และบริการรายบุคคลอื่น ๆ
ภาคอุตสาหกรรมของสวิตเซอร์แลนด์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แม้ประเทศจะมีขนาดเล็กแต่มีบริษัทข้ามชาติมากมายที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ อาทิ ด้านอาหาร (Nestle) เวชภัณฑ์ (Novartis, Roche) วิศวกรรม (ABB) อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ ทำรายได้จากการส่งออกสูงสุดของสวิตเซอร์แลนด์ การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคการผลิตสินค้าพวกเครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้าและเครื่องเหล็ก การแข็งค่าของเงินฟรังก์ทำให้ภาคอุตสาหกรรมพยายามลดค่าใช้จ่ายโดยการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพสูงมากขึ้น อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของสวิตเซอร์แลนด์เป็นอุตสาหกรรมที่ดีที่สุดในโลก ปัจจุบันสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่ง ในปี 2543 GDP ต่อหัว สูงถึง 33,464 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นที่สามของโลกรองจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 3.4 ใน2 543 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบสิบปี
ปี พ.ศ. 2543 เศรษฐกิจสวิสเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เป็นต้นมาเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และการอ่อนค่าเงินฟรังก์สวิส GDP ในปี 2543 มีอัตราร้อยละ 3.4 การส่งออกเพิ่มเป็นสองเท่าในขณะที่การนำเข้าก็เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนเพิ่มเป็นร้อยละ 10.3 (เทียบกับร้อยละ 9 ของปี 2542) ส่วนอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 2.7 เป็นร้อยละ 2 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1.6
กระทรวงการคลังรายงานว่า ในช่วงแปดเดือนแรกของปี ค.ศ. 2001 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 คิดเป็นมูลค่า 88,533 ล้านฟรังก์ และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 คิดเป็นมูลค่า 88,719 ฟรังก์ ขาดดุลการค้า 90.5 ล้านฟรังก์ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา5 5 5

การคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2543

ธนาคาร UBS ประเมินว่า เศรษฐกิจสวิสจะเติบโตร้อยละ 1 ในปี ค.ศ. 2002 แต่สมาพันธรัฐสวิสจะไม่ตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเหมือนช่วงครึ่งแรกของปี ค.ศ. 2001 ทั้งนี้ เป็นผลจากนโยบายและการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและทันการณ์ของธนาคารชาติสวิสและเนื่องจากตลาดแรงงานมีความยืดหยุ่นสูง ในไตรมาสที่สองของปี ค.ศ. 2001 GDP ของสมาพันธรัฐสวิสเติบโตร้อยละ 1.7 โดยเฉลี่ยการเติบโตในแต่ละไตรมาสอยู่ประมาณร้อยละ1.5 – 2 ซึ่งสูงกว่าเยอรมนี (-0.1) ฝรั่งเศส (1) และอิตาลี (0.1) แต่ตัวเลขการ เติบโตในครึ่งแรกของปี ค.ศ. 2001 และดัชนีต่างๆ ชี้ว่าการเติบโตเริ่มช้าลง ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มลดลงในไตรมาสที่สองเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าเงินฟรังก์สวิสสูงขึ้นและกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มในอัตราที่ต่ำ UBS คาดว่าปี ค.ศ. 2002 การเติบโตทางเศรษฐกิจจะเหลือเพียงร้อยละ 1 และอัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 2002 จะเท่ากับร้อยละ 1 เพราะปัจจัยต่างๆ อาทิ ราคาสินค้าจะไม่สูงขึ้นมาก อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง อัตราการเพิ่มค่าจ้างแรงงานก็จะช้าลง และเงินฟรังก์สวิสที่แข็งค่าขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากราคาสินค้าเข้าที่เพิ่มขึ้น

การพัฒนาทางเศรษฐกิจ

สวิตเซอร์แลนด์ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศเป็นภูเขา เพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น ที่สามารถทำการเพาะปลูก ซึ่งผลิตผลการเกษตรสามารถรองรับความต้องการด้านอาหารของประเทศได้เกินกว่าครึ่งหนึ่ง แต่สวิสขาดแคลนวัตถุดิบ จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกกลับไปในรูปของผลิตภัณฑ์คุณภาพ จึงต้องนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ คู่ค้าสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ได้แก่สมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development – OECD) เศรษฐกิจสวิสผูกพันกับเศรษฐกิจยุโรปอย่างมากโดยเฉพาะเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์นำเข้าจากสหภาพยุโรปร้อยละ 63 (เยอรมนีร้อยละ 23) และส่งออกไปสหภาพยุโรปกว่าร้อยละ 80 (เยอรมนีร้อยละ 33)
สวิตเซอร์แลนด์ขาดดุลการค้าตลอดมาเว้นแต่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งส่งผลให้การนำเข้าลดลง แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะขาดดุลการค้ากับประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) แต่สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลการค้าจากประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าเช่น สเปน โปรตุเกส และประเทศกำลังพัฒนา เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางเวชกรรม นาฬิกา และอัญมณี เป็นสินค้าส่งออกหลักของสวิตเซอร์แลนด์ สินค้านำเข้าหลักได้แก่เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า นาฬิกา เคมีภัณฑ์
ผลผลิตทางการเกษตร โลหะ สิ่งทอ และเครื่องแต่งกาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้แรงงานที่มีคุณภาพสูงของตนแปรรูปให้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง การส่งออกภาคบริการของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปี 1996-1999 เพิ่มประมาณร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยมีสัดส่วนร้อยละ 20 ของการส่งออกทั้งหมด การท่องเที่ยวก็เป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมบริการ
สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ประชาชาติสูงสุดของโลก การได้ดุลจำนวนมากนี้เป็นผลจากการทำธุรกรรมด้านบริการ โดยเฉพาะภาคการเงิน บริษัทสวิสลงทุนในต่างประเทศมากกว่าบริษัทต่างประเทศมาลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์ประมาณ 2.5 เท่า การลงทุนทางตรงของสวิตเซอร์แลนด์ในต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ในขณะที่สหภาพยุโรปมีสัดส่วนการลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์เป็นสองในสามของการลงทุนต่างประเทศในสวิตเซอร์แลนด์