วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

รีวิวฟันGATให้ได้270 อัพ

ดีครับ วันนี้จขกท.จะมารีวิววิธีอ่านหนังสือเตรียมสอบGATนะครับ ขออนุญาตเริ่มเลย
มีทั้งหมด 60 ข้อ ข้อละ 2.5 คะแนน 5 ช้อย มีทั้งหมด 7 พาร์ท 

1.ส่วน Conversation 15 ข้อ

ส่วนสนนทนาโจทย์จะให้เป็นบทสนนทนาสั้นๆเว้นช่องว่างไว้แล้วให้เราเลือกคำตอบที่ถูก

ส่วนนี้เป็นส่วนที่เราว่าค่อนข้างง่ายที่สุดในข้อสอบ เก็บคะแนนได้เยอะ แต่ก็มีสิทธิพลาดได้เหมือนกันถ้ารีบตอบเกินหรือเปลี่ยนตอบจากข้อที่ถูกอยู่แล้วไปเป็นช้อยอื่น(จขกท.เป็นบ่อยมากจนทำผิดละเสียคะแนนไปแบบงงๆเลย)
วิธีการทำส่วนนี้ให้ดีที่สุดสำหรับเรา คือ เวลาอ่านโจทย์เสร็จแล้วอย่าเพิ่งดูช้อย ให้เราคิดเองว่าคำตอบน่าจะเป็นประมาณไหนในหัวแล้วค่อยมาเช็คช้อยว่าอันไหนที่เหมือนที่เราคิดไว้ในหัวหรือคล้ายกันที่สุด เวลาตอบไปแล้ว “อย่า” ลังเลไปเปลี่ยนเป็นช้อยอื่น ให้เชื่อคำตอบแรกของตัวเอง บางทีคิดมากไปก็ผิดได้เหมือนกัน แค่สำหรับพาร์ทนี้เท่านั้นนะ

ตัวอย่าง
Janet:I heard you pass the screening test
Wichai:Yes, and I am invited to the interview next friday
Janet:____
จากโจทย์แปลได้ว่า
เจเน็ต:ฉันได้ยินว่าเธอผ่านการทดสอบแล้ว
วิชัย:ใช่แล้ว และฉันถูกเชิญให้ไปสัมภาษณ์อีกวันศุกร์หน้า
เจเน็ต:____
1.I’ll keep my finger crossed. 2.See you at the interviw
3.What’re you doing on Friday 4.Don’t miss it, will you?

จากโจทย์ลองแปลดูจะรู้ว่าวิชัยไปทดสอบแล้วผ่านเหลือรอบสัมภาษณ์แล้วเจเน็ตก็พูดอะไรซักอย่างต่อ ตามcommon senseแล้วเพื่อนไปสัมภาษณ์งานเราก็ต้องอวยพร แต่ลองมาเช็คช้อยก่อน ช้อย1 ฉันจะเอาใจช่วยนะ ข้อนี้ดูดีเลยแต่ดูช้อยอื่นก่อนเพื่อความไม่ประมาท ช้อย2 เจอกันวันสัมภาษณ์ อันนี้ก็พอดูได้แต่เจเน็ตไม่ได้บอกเลยว่าไปสอบด้วย ช้อย3 เธอทำอะไรตอนวันศุกร์ ข้อนี้ดูไม่เข้ากับบริบทโจทย์เลย ช้อย4 อย่าพลาดล่ะเธอ ข้อนี้ก็พอดูได้ แต่ถ้าตอบไปแล้วบทสนนทนาจะยังไม่จบ แต่ตามsenseเราแล้วช้อย1 ดูเข้ากับที่เราคิดไว้ตอนแรกที่สุด เพราะฉะนั้นตอบช้อย1 โจทย์แนวสนนทนาแบบนี้สำหรับเราและจากที่สังเกตเพื่อนๆน้องๆมาถ้าคิดมากเกินไปแล้วมันจะผิด ให้ตอบตามที่คิดไว้ในความคิดแรกเลยแต่ก็ต้องตรวจเช็คดูช้อยดีๆนะ ต้องดูด้วยว่าช้อยไหนดูใช่และโดนที่สุดกับโจทย์ข้อนั้นๆ เพราะหลายครั้งเลยที่โทย์จะมีข้อที่ตอบได้มากกว่า1ข้อแต่มันจะมีช้อยที่เข้ากับโจทย์ที่สุดอยู่ช้อยเดียว

2.ส่วน Meaning in Context 10 ข้อ
ส่วนเลือกคำศัพท์ที่เหมาะที่สุดลงไปในช่องว่าง และทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์
ส่วนนี้เป็นส่วนที่ถ้ารู้ศัพท์เยอะๆก็จะสบายเลยแต่ถ้าไม่รู้ศัพท์ก็มีวิธีเดาเหมือนกัน คือ ให้ดูบริบทของโจทย์ ลองหาคำเชื่อมในโจทย์ดู ว่าโจทย์มีใจความคล้อยตามกัน หรือขัดแย้ง วิธีนี้จะช่วยได้เวลาเรารู้ศัพท์ในโจทย์ไม่ครบทั้งหมด ถ้ายังไม่เข้าใจโทย์อย่าเพิ่งตกใจให้ลองอ่านซ้ำไปเรื่อยๆเดี๋ยวจะเข้าใจเอง และให้อ่านโจทย์ดีๆให้เข้าใจความหมายจริงๆที่โจทย์บอกจะช่วยให้เราสามารถเลือกศัพท์ได้ถูกต้อง

ตัวอย่าง
As there were ___ in what the two witnesses are saying,the police know that one of them is lying.
1.faults 2.possibilities 3.prediction 4.inconsistencies 5.similarity
โจทย์จะแปลได้ว่า เมื่อเกิด___ที่...2คนพูด ตำรวจจึงรู้ว่า1ในนั้นโกหก

จากโจทย์ถ้าสมมุติเราแปลคำว่า witnesses ไม่ออก เราก็จะแปลโจทย์ได้ตามนี้ ลองคิดต่อดูว่าอะไรที่ควรเติมในช่องว่าง 
สองคนโกหกแต่ตำรวจจับได้ แสดงว่าก็ต้องมีคนใดคนหนึ่งพูดไม่เหมือนกัน ลองแทนช้อย2.ความเป็นไปได้ ช้อย3.ความไม่ต่อเนื่องกับช้อย5 ความคล้ายคลึงกัน แล้วไม่เข้ากับบริบทโจทย์ ตัดออกได้เลย 3 ช้อย เหลือช้อย1และข้อย4 ถ้ารีบตอบช้อย1 ความผิด เราจะเสียคะแนนเลยเพราะช้อย4 ความไม่ต่อเนื่อง ลองแทนแล้วเข้ากับบริบทโจทย์ได้มากกว่า เพราะฉะนั้นเวลาทำโจทย์ต้องอ่านช้อยให้ครบทุกข้อก่อนตอบไม่งั้นจะเสียคะแนนได้ง่ายๆเลย พาร์ทนี้นอกจากจะวัดศัพท์ การเข้าใจบริบทและความหมายโจทย์แล้ว ยังวัดความรอบคอบด้วย 

3.ส่วน Meaning Recognition 5 ข้อ
ให้เลือกคำที่ขีดเส้นใต้ในช้อยให้บริบทและความหมายเหมือนกับคำที่ขีดเส้นใต้ในโจทย์
ส่วนนี้ถ้าจับแนวทางได้แล้วจะง่ายเลย 

ตัวอย่าง
The prosopal has met with strong opposition from local people.
1.This film is not suitable for children under 12 as it contains strong language.
2.Many people have strong feelings about the issue.
3.This cheese has strong smell but has excellent taste.
4.Anna was a strong candicate for the party leadership
โจทย์ข้อนี้วัดคำว่า strong ว่า strong ในช้อยไหนมีความหมายเหมือนกับในโจทย์ ลองมาแปลโจทย์กันดูก่อน
ข้อเสนอได้รับกับการต่อต้านที่strongจากคนท้องถิ่น ลองมานึกเป็นภาษาง่ายๆดู ว่าได้รับการต่อต้านที่สตรอง สตรองในนี้จะแปลได้ยังไง ลองหาคำแทนที่เหมาะสมลองไปดู จะได้ประมาณว่า ข้อเสนอนี้ได้รับการต่อต้านอย่างมากจากคนท้องถิ่น
ทำให้เรารู้ว่า strong ในโจทย์มีความหมายว่า อย่างมาก ทีนี้ลองมาเช็คช้อยกัน

1.หนังเรื่องนี้ไม่เหมาะกับเด็กที่อายุน้อยกว่า12เพราะในหนังมีภาษาที่สตรอง
ลองคิดดู ภาษาสตรองในนี้มันหมายความว่ายังไงถึงไม่เหมาะกับเด็ก ก็ต้องภาษาหยาบคายสิ ได้ว่าstrongในช้อยข้อนี้แปลว่าหยาบคาย ดูไม่เหมือนกับสตรองในโจทย์เนอะแต่เช็คช้อยอื่นดูก่อนเพื่อความชัวร์
2.คนหลายคนมีความรู้สึกที่สตรองเกี่ยวกับประเด็นนี้
ลองแปลคำว่าสตรองในช้อยนี้ดู แปลได้ว่า คนหลายคนมีความรู้สึกร่วมอย่างมาก/ซีเรียสเกี่ยวกับประเด็นนี้ ดูคล้ายกับสตรองในโจทย์อยู่นะ ลองไปช้อย3
3.ชีสนี้มีกลิ่นที่สตรองแต่รสชาติอร่อยมาก
ลองแปลดู ได้ว่า ชีสอันนี้มีกลิ่นแรงอยู่นะแต่รสชาติอร่อยมาก สตรองในนี้แปลว่ากลิ่นเหม็น/กลิ่นแรง ไปช้อย4ดีกว่า
4.แอนนาเป็นตัวแทนที่สตรองสำหรับการเลือกตั้งพรรคครั้งนี้
แปลได้ใจความว่า แอนนาเป็นตัวแทนที่เป็นตัวเก็งสำหรับการเลือกตั้งพรรคครั้งนี้ สตรองในนี้แปลว่าตัวเก็ง
จากที่ดูช้อยครบ 4 ข้อ ข้อ 2 ดูเข้ากับโจทย์สุด จึงตอบช้อย 2 แต่!! เรามีเคล็ดลับกับการทำโจทย์สไตล์นี้ ลองมาสำรวจช้อยกันดู ช้อย1 อ่านแล้วจะเห็นว่าพูดเกี่ยวกับหนัง ช้อย2 พูดเกี่ยวกับประเด็นบางอย่าง ช้อย3 พูดเกี่ยวกับอาหาร ช้อย4 พูดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โจทย์พูดเกี่ยวกับได้รับการต่อต้านบางอย่าง ช้อย1กับช้อย3ดูไม่ค่อยเกี่ยวกันเนอะ ตัดออกได้เลย เหลือช้อย 2 กับช้อย 4 ลองมาสแกนทีละอัน ช้อย4 พูดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่ดูผ่านๆแล้วอาจจะดูโยงๆกับโจทย์ได้เพราะในโจทย์ก็มีพูดถึงlocal peopleคนท้องถิ่นที่ก็เกี่ยวกับการเลือกตั้งเหมือนกัน แต่มาสแกนดีๆแล้ว ช้อย4 พูดเกี่ยวกับcandicateตัวเต็งการเลือกตั้งมากกว่าไม่ได้เกี่ยวกับหัวข้อหรือประเด็นอะไรเหมือนกับในโจทย์และช้อย2 ดังนั้นตัดช้อย4ไปได้อีกข้อ ตอบช้อย2 

3. ส่วน Passage 15 ข้อ

ส่วนนี้เราว่าเป็นส่วนที่จัดว่าหินอีกส่วนนึงเลย จะทำพาร์ทนี้คล่องได้ต้องฝึกทำเยอะๆ จากที่สำรวจตัวเองกับถามเพื่อนๆก็รู้สึกว่าแต่ละคนเหมาะกับวิธีที่ต่างกัน ลองมาดูวิธีกัน
วิธีอ่านบทความ
วิธี1:.ใช้ตากวาดอ่านไปเรื่อยๆจนจบ
วิฑี2:ค่อยๆอ่าน ค่อยๆขีด เจอประธานกับกริยาหลักก็ทำสัญลักษณ์ไว้ เวลาเจอส่วนขยายก็ขีดปีกกาเปิดปีกกาปิดจะได้ไม่งง เราว่าเวลาอ่านพาสเซจแล้วหลุดหรืองงคือ งงกับส่วนขยายนี่แหละ 
วิธีทำโจทย์
วิธี1:อ่านพาสเซจหมดแล้วค่อยทำคำถาม
วิธี2:อ่านคำถาม เช็คช้อยก่อนแล้วค่อยมาอ่านบทความ
สำหรับการทำโจทย์เราจะใช้ทั้งสองวิธีปนกัน คือในข้อสอบส่วนพาสเซจในgatคำถามมันจะเดิมๆตลอดให้เราจำรูปแบบไว้ คือ
1.ให้หาจุดประสงค์คนเขียน 2.ถามความหมายคำศัพท์ในพาสเซจ 3.ถามว่า it,shยิ้มfer ถึงใคร 4.ถามประเด็นหลักของช้อความนี้ 5.ถามรูปแบบของพาสเซจ(แจ้งให้ทราบ,โต้แย้ง) 6.จะเจอบทความนี้ที่ไหน 7.พารากราฟนี้เกี่ยวกับอะไร

ข้อ 2,3 ให้เราดูโจทย์ว่าเขาถามคำไหน จำไว้แล้วไปอ่านพาสเซจ (แต่ปกติพาสเซจจะทำตัวหนาไว้ให้แล้ว)พออ่านเจอเมื่อไหร่ให้ไปตอบเลย ส่วนข้อ 1,4,5,6 ให้เราอ่านพาสเซจให้จบแล้วค่อยไปตอบ ส่วนข้อ 7 ให้เราอ่านพารากราฟนั้นๆจบแล้วไปตอบเลยอย่าปล่อยไว้จนจบ ไม่งั้นจะลืม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น